แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็ก ปี 2563

มีการคาดการณ์ว่า แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็ก ปี 2563 จะมีการขยายตัวเฉลี่ย 10% จากการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐ การเพิ่มขึ้นของการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไอที รวมถึงแนวโน้มการก่อสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์จะเริ่มขยายตัวดีขึ้น จากการขยายตัวของเมืองออกสู่ชานเมืองมากขึ้นตามเส้นทาง รถไฟฟ้าสายใหม่ๆ

แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็ก ปี 2563

แม้ว่าอุตสาหกรรมเหล็ก ในปี 2562 ที่ผ่านมา ถือว่าอยู่ในช่วงที่ตลาดไม่ค่อยคึกคักเท่าไหร่นัก เพราะปัญหาเศรษฐกิจจากภายนอกประเทศ ทั้งสงครามการค้า ระหว่างสหรัฐอเมริกา กับ ประเทศจีน และการบริโภคที่ลดลงของโลก ที่ส่งผลต่อการลงทุนในอุตสาหกรรม ทำให้การส่งออกอ่อนตัว นักลงทุนชะลอการลงทุน แต่ยังมีการลงทุนจากภาครัฐ เช่น โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า รถไฟรางคู่ ถนนมอเตอร์เวย์ ช่วยพยุงตลาดของอุตสาหกรรมเหล็ก ให้ยังคงประคองตัวอยู่ได้

ความต้องการใช้เหล็กทรงยาว และเหล็กเส้น อาจจะขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ถึง 14% จากการอนุมัติโครงการก่อสร้างอีกหลากหลายโครงการจากภาครัฐ เช่น รางรถไฟ โครงสร้างทางยกระดับ และหมอนคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งจะช่วยดันให้ราคาเหล็ก มีทิศทางราคาเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน

ส่วนความต้องการใช้เหล็กทรงแบน และเหล็กแผ่นรีดร้อน ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในอุตสาหกรรมยานยนต์ และเครื่องจักร รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ มีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ไม่เกิน 6% ซึ่งเป็นผลมาจากการที่เศรษฐกิจโลกจะเริ่มกลับมาดีขึ้น ประกอบกับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกของรัฐบาลที่เอื้อประโยชน์บางประการให้กับนักลงทุน รวมทั้ง การย้ายฐานการผลิตกลับมายังประเทศไทยของ Sharp Corporation ซึ่งเป็นผู้นำทางด้านการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ในปี 2561 และมีการทำการตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไอที อย่างหนักหน่วงในปี 2562 ที่จะส่งผลอย่างชัดเจนต่ออุตสาหกรรมเหล็กในช่วงปี 2563 นี้

แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กของไทย ปี 2019 – 2021

          ความต้องการใช้เหล็กในปี 2562 มีแนวโน้มทรงตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก และคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นในช่วงปี 2563-2564 อยู่ที่ประมาณ 1,900 ล้านตัน ผลจากการขยายตัวของกำไรก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลก โดยประเทศมหาอำนาจที่น่าจะใช้เหล็กจำนวนมาก ได้แก่ จีน อินเดีย และสหรัฐฯ โดยเฉพาะอินเดีย ซึ่งรัฐบาลส่งเสริมให้เป็นประเทศศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ ขนาดเล็กในภูมิภาค ทำให้มีความต้องการใช้เหล็กเพิ่มขึ้น 

อุตสาหกรรมเหล็กในไทย : ตลาดเหล็กในประเทศจะเติบโตตามภาคก่อสร้างและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ท้าให้การผลิตขยายตัวตาม

สำหรับตลาดส่งออกเหล็กของไทย (สัดส่วน 10% ของปริมาณการผลิต ในประเทศ) คาดว่าจะหดตัว (ภาพที่ 25) ทั้งในตลาดสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ (จากผลของมาตรการลดการนำเข้าของสหรัฐฯ เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศ) และตลาดประเทศคู่ค้าอื่นที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ

ทั้งนี้ ในปี 2562-2564 ผลจากความต้องการใช้ในประเทศ (สัดส่วน 90% ของปริมาณการผลิตเหล็กในประเทศ) ที่มีแนวโน้มเติบโตจะเป็นปัจจัยหนุน การขยายตัวของปริมาณการผลิต อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญของผู้ผลิตเหล็กในประเทศ จากการการนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น เนื่องจากมีราคาถูกกว่าและบางประเภทมีเทคโนโลยีการผลิตที่ดีกว่าในไทย เช่น รางรถไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นบางประเภท เป็นต้น

          แนวโน้มความต้องการใช้เหล็กและการผลิตเหล็กแยกรายประเภท ในช่วงปี 2562-2564 

         

          เหล็กทรงยาว

ความต้องการใช้เหล็กทรงยาวมีแนวโน้มเติบโตต่ำ ในปี 2562 ส่วนหนึ่งเป็นผลของภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวในอัตราชะลอลง และงานโครงสร้างพื้นฐานที่ยังคืบหน้าไม่มากนัก แต่การขยายตัวจะดี ขึ้นในปี 2563 และ 2564 (ภาพที่ 27) ตามการเร่งตัวของงานโครงสร้ำง พื้นฐานขนาดใหญ่

โดยโครงการส่วนใหญ่ที่ภาครัฐมีแผนจะลงทุนมากขึ้นในระยะข้างหน้าเป็นการพัฒนาระบบราง ได้แก่ รถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูง ซึ่งโครงการเหล่านี้ใช้เหล็กทรงยาวในการก่อสร้างเป็นหลัก โดยเฉพาะเหล็กลวดแรงดึงสูง (High tensile steel wire) ที่น่าจะมีความต้องการเพิ่มขึ้นมาก ทำให้คาดว่าการผลิตเหล็กทรงยาวจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ตามอุปสงค์ในประเทศที่ขยายตัว โดยคาดว่าจะมีปริมาณการผลิตโดย เฉลี่ย 4-5 ล้านตันต่อปี

ด้านความต้องการใช้เหล็กเส้นและเหล็กรูปพรรณ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีแนวโน้มเติบโตต่ำในปี 2562 และกระเตื้องขึ้น 4-6% ในปี 2563 และ 2564 ตามการลงทุนภาครัฐและเอกชนที่จะเร่งขึ้น โดยความต้องการเหล็กเส้นและเหล็กรูปพรรณส่วนใหญ่เพื่อใช้สำหรับงานก่อสร้างระยะแรก อาทิ งานวางฐานรากและเสาของทางยกระดับโครงการ รถไฟฟ้า

สำหรับการผลิตเหล็กเส้นและเหล็กรูปพรรณในช่วงปี 2562-2564 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ในประเทศ โดยภาครัฐพยายามผลักดันให้ใช้เหล็กที่ผลิตในประเทศสำหรับงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน อย่างไรก็ดี ผู้ผลิตเหล็กไทยยังเผชิญภาวะการแข่งขันด้านราคากับเหล็กที่นำเข้าจากต่างประเทศและการขยายโรงงานผลิตเหล็กของนักลงทุนจีนที่เข้ามาตั้งในไทย

ราคาเหล็กเส้นและเหล็กรูปพรรณในประเทศมีแนวโน้มหดตัวในช่วงปี 2562-2563 ตามราคาเหล็กโลกที่จะปรับลดลงจากอุปทานส่วนเกินที่ยังเพิ่มขึ้น แต่คาดว่าราคาจะกลับมาขยายตัวได้เล็กน้อยในปี 2564 เนื่องจากความต้องการใช้ที่จะเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของภาคก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ที่คาดว่าจะมีโครงการก่อสร้างจำนวนมาก

          เหล็กทรงแบน

คาดว่าความต้องการใช้จะทรงตัวถึงขยายตัวเล็กน้อย ในปี 2562 และขยับตัวดีขึ้นในปี 2563-2564 (ภาพที่ 28) ตามการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ยานยนต์และเครื่องจักร และการเติบโตของภาคก่อสร้างที่อาจใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กในกลุ่มนี้มากขึ้น เช่น เหล็ก แผ่นเมทัลชีทสำหรับทำหลังคาหรือใช้เป็นกำแพงกั้นห้อง ด้านการผลิตเหล็กทรงแบนในช่วงปี 2562-2564 มีแนวโน้มขยายตัวตามทิศทางอุปสงค์ โดยคาดว่าจะมีปริมาณการผลิตเฉลี่ยประมาณ 2.5-3.0 ล้านตันต่อปี

ด้านเหล็กแผ่นรีดร้อนซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักของเหล็กทรงแบน ความต้องการใช้ในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี 2563-2564 อานิสงส์จากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการรถไฟทางคู่ที่มีความต้องการใช้เหล็กรางและผลิตภัณฑ์เหล็กมากขึ้น ผนวกกับการผลิตยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มขยายตัวตามการเติบโตของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ปริมาณการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนมีแนวโน้มเติบโตได้จำกัด เนื่องจากไทยไม่มีการผลิตเหล็กต้นน้ำ ผู้ผลิตส่วนใหญ่จำเป็นต้อง นำเข้าเหล็กแท่งแบนจากต่างประเทศเพื่อเป็นวัตถุดิบผลิตเหล็กรีดร้อน ผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนของไทยจึงแข่งขันด้านต้นทุนกับคู่แข่งจากประเทศอื่นได้ยาก

ราคาเหล็กแผ่นรีดร้อนของไทยในระยะ 3 ปีข้างหน้า มีแนวโน้มปรับลดลง (ภาพที่ 26) ตามราคาเหล็กโลก จากภาวะอุปทานส่วนเกิน​

 ปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องและควรติดตาม  ปัญหาการน้าเข้าเหล็กราคาถูก (โดยเฉพาะจากจีน) สรุปได้ดังนี้

1) อุปทานเหล็กส่วนเกินในจีนยังมีอยู่มาก แม้ว่าทางการจีนมีนโยบายลดการผลิตเหล็กโดยสั่งปิดโรงงานผลิตที่มีคุณภาพต่ำ แต่ผู้ประกอบการอาจหันไปผลิตเหล็กที่มีคุณภาพสูงออกสู่ตลาดโลกมากขึ้นในระยะข้างหน้า ซึ่งคาดว่าจีนจะยังรักษาความได้เปรียบด้านราคาไว้ได้จากการประหยัดต่อขนาด (Economies of scale) เนื่องจากมีแร่เหล็ก (iron ore) ซึ่งสามารถผลิตเหล็กคุณภาพดีได้ (แต่ที่ผ่านมาจีนไม่ลงทุนใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในโรงงาน ทำให้เหล็กที่ได้คุณภาพไม่สูงนัก)

2) ผู้ประกอบการจีนบางรายหันไปลงทุนตั้งโรงงานเหล็กในต่างประเทศ อาจส่งผลให้โรงงานเหล็กของจีนเข้ามาเปิดสายการผลิตในไทยและแย่งชิง ส่วนแบ่งตลาดเหล็กในไทย จากข้อมูลล่าสุดของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน มูลค่าการลงทุนที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนของไทยในไตรมาสแรก ปี 2562 ส่วนใหญ่มาจากจีน (ร้อยละ 26 ของมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด) โดยเข้ามาลงทุนในโครงการผลิตภัณฑ์โลหะ (รวมเหล็ก) ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนสูงในอันดับต้นๆ ของโครงการลงทุนจากจีนที่ได้รับอนุมัติทั้งหมด

3) หลายประเทศมีมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดเหล็กจากจีน เช่น การตั้งกำแพงภาษีนำเข้าเหล็กในสหรัฐฯ และการสนับสนุนให้เพิ่มกำลังการผลิต เหล็กในอินเดียเพื่อลดการนำเข้าจะยิ่งทำให้อุปทานส่วนเกินของเหล็กที่มีราคาถูกในจีนถูกส่งออกไปจำหน่ายในประเทศอื่นรวมถึงในไทยมากยิ่งขึ้น

ข้อมูลจาก : 

แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม 2562-2564 – อุตสาหกรรมเหล็ก : https://www.krungsri.com

เหล็กท่อดำ

เหล็กท่อดำ (สำหรับใช้เป็นท่อลำเลียง ท่อการประปา ท่อชลประทาน และใช้เป็นโครงสร้างทั่วไป) มีลักษณะเป็นท่อเหล็กยาว มีความสามารถในการรับแรงดัน มีความแข็งแรงทนทาน แต่น้ำหนักเบา สะดวกในการเชื่อมต่อ นิยมนำไปใช้เป็นท่อน้ำสำหรับ อาคารสูง งานขึ้นรูปโครงสร้างต่างๆ รวมถึงนำไปประยุกต์ใช้ในงานทั่วไป เช่น ร้อยท่อสายไฟ รั้ว ประตู หรืองานตกแต่งทั่วไป ทุกขนาด สามารถนำไปชุบสังกะสีได้

Cr.Vrsteei

เหล็กเพลาขาว

มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Cold Drawn Bar เรียกตามการผลิตที่เกิดขึ้นจากการนำเหล็กเส้นกลมหรือเหล็กเพลาดำ ไปดึงเย็นอีกครั้งหนึ่ง เหล็กที่นำไปดึงเย็นแล้วนี้จะเปลี่ยนคุณสมบัติทำให้เหล็กจะเปลี่ยนจากสีเทาดำ เป็นสีเทาเงิน ๆ จึงเรียกว่าเหล็กเพลาขาวตามลักษณะของเหล็ก เหล็กเพลาขาวนี้จะมีคุณสมบัติแข็งกว่าเหล็กเพลาดำ แต่จะมีการยืดหยุ่นน้อยกว่า

Cr.Vrsteei

เหล็กฉากเจาะรูคืออะไร

เหล็กฉากเจาะรู (Slotted Angle Steel) หรือ เหล็กฉากเอนกประสงค์ คือ เหล็กแผ่นรีดร้อนที่ผ่านการเจาะรูรูปวงรี (Slot) และวงกลมขนาดเล็กตลอดแนวความยาว แล้วผ่านการขึ้นรูปให้เป็นเหล็กฉาก 90 องศา จากนั้นจึงนำมาผ่านขบวนการอบเคลือบสี จุดประสงค์เพื่อให้สามารถนำเหล็กฉากเจาะรูนี้มาประยุกต์ใช้กับงานได้หลากหลายรูปแบบ หลายขนาด ตามความเหมาะสมของพื้นที่และการใช้งาน เช่น ชั้นเหล็กฉาก ชั้นวางสินค้า ชั้นวางของ ชั้นเก็บอะไหล่ สต็อกสินค้า โต๊ะทำงาน work bench ที่ต้องการความแข็งแรง การใช้งานก็โดยการตัดเส้นเหล็กฉากให้ได้ตามแบบและขนาดที่ต้องการ นำมายึดติดกันด้วยสกรูและน็อต เพิ่มความมั่นคงแข็งแรงของจุดต่อด้วยแผ่นเหล็กสามเหลี่ยม นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มจำนวนเหล็กฉากเพื่อให้สามารถรับน้ำหนักได้เพิ่มขึ้นตามต้องการ

ข้อดีของเหล็กฉากเจาะรู

  • ประกอบง่าย ไม่ต้องเชื่อม ไม่ต้องเจาะรู แค่ตัดให้ได้ขนาดตามต้องการ แล้วยึดติดกันด้วยสกรูและน็อต
  • สะดวก รวดเร็วในการติดตั้งและรื้อถอน ทำให้ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บและสะดวกในการเคลื่อนย้าย
  • สามารถดัดแปลง ปรับเปลี่ยนรูปแบบสำหรับใช้งานต่างๆ ได้ตามต้องการ
  • รับน้ำหนักได้มาก มีขนาดความหนาของเหล็กฉากให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของการใช้งาน และยังสามารถเพิ่มจำนวนเหล็กฉากเพื่อให้สามารถรับน้ำหนักได้เพิ่มขึ้น
  • แข็งแรงทนทาน สีไม่หลุดร่อนง่าย มีอายุการใช้งานยาวนาน จีงทำให้ประหยัดต้นทุน

Cr.พิชิตเมลทัลจำกัด

เหล็กเส้นก่อสร้าง “เหล็กเส้นกลม”

เหล็กเส้นกลม หรือที่เรียกกันว่าเหล็ก RB (Round Bar) และมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น เหล็กกลม เหล็กเส้น เป็นต้น ผลิตภัณฑ์เหล็กเส้นกลมภายใต้เครื่องหมายการค้า “MILL” (มิลล์) ผลิตภายใต้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.20-2559 ชั้นคุณภาพ SR24 ลักษณะทางกายภาพ มีลักษณะเป็นเส้นกลม ผิวเรียบ ไม่มีครีบ ไม่มีบั้ง หน้าตัดเรียบ ไม่มีรอยปริแตก มีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 8 มม. และ 9 มม.

Cr.Millcon

เหล็กรูปพรรณ คืออะไร? ต่างกันยังไง?

เหล็กรูปพรรณ / เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ 

เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ (Structural Steel) ,เหล็กรูปพรรณ (Steel) พี่ๆเพื่อนๆหลายคนคงเคยได้ใช้งานหรือเคยได้ยินชื่อเรียกเหล็กประเภทนี้กันมาบ้างแล้ว

เคยสงสัยกันมั้ยคะว่า เหล็กรูปพรรณคืออะไร? มีกี่แบบ? แล้วมันต่างกันยังไง? วันนี้เราจะพามาหาคำตอบกันค่ะ

เหล็กโครงสร้างรูปพรรณเป็นเหล็กที่ใช้ในงานโครงสร้าง หรือ งานสถาปัตยกรรมต่างๆ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ  คือ

เหล็กรูปพรรณรีดร้อน และ เหล็กรูปพรรณขึ้นรูปเย็น ซึ่งแต่ละประเภทจะมีลักษณะที่ต่างกัน ดังนี้

 เหล็กรูปพรรณรีดร้อน  คือ เหล็กที่ผ่านกระบวนการรีด ตอนที่เหล็กยังมีอุณหภูมิสูง เพื่อให้ได้หน้าตัดและขนาดต่างๆ
  •  เหล็กฉาก(Angle Bar)
  •  เหล็กรางน้ำ(Channel Bar)
  •  เหล็กไอบีม(I-Beam)
  •  เหล็กเอชบีม(H-Beam)
การนำไปใช้งานของเหล็กรูปพรรณรีดร้อน  นิยมนำมาใช้ในงานโครงสร้าง สถาปัตยกรรม โครงสร้างอาคาร สามารถรองรับน้ำหนักได้ดี เหมาะกับโครงสร้างขนาดใหญ่ไปจนถึงขนาดเล็ก  
เหล็กรูปพรรณขึ้นรูปเย็น คือ เป็นการขึ้นรูปจากเหล็กแผ่นที่อุณหภูมิปกติ  นำมาขึ้นรูปโดยใช้เหล็กแผ่นรีดร้อนหรือเหล็กแผ่นชุบสังกะสีเป็นวัตถุดิบ  เช่น
  • เหล็กตัวซี  (LIGHT LIP CHANNEL)
  • ท่อกลมดำ (CARBON STEEL TUBES)
  • เหล็กกล่องสี่เหลี่ยมจตุรัส,ท่อเหลี่ยม (CARBON STEEL SQUARE PIPES)
  • เหล็กกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า (CARBON STEEL RECTANGULAR PIPES)
  • ท่อเหล็กชุบกัลวาไนซ์ (GALVANIZED STEEL PIPES)
การนำไปใช้งานของเหล็กรูปพรรณขึ้นรูปเย็น นิยมใช้กันมากในงานโครงสร้าง โครงหลังคา ต่างๆ แทนการใช้ไม้ หรืองานที่รองรับน้ำหนักไม่มากนัก เช่น โครงหลังคา งานนั่งร้าน  เป็นต้น

Cr.Zubb Steel

เดินหน้าปันน้ำใจสู้ภัย COVID-19

กรุงเทพฯ–28 พ.ค.–เค พลัส พีอาร์

บริษัท เชาว์ สตีล อินดัสทรี้ จำกัด (มหาชน) หรือ CHOW ผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล็กแท่งยาว (Steel Billet) รายใหญ่ของประเทศ ที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และธุรกิจพลังงานทดแทน พร้อมด้วย บริษัท เชาว์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบธุรกิจพลังงานทดแทน ในเครือ CHOW GROUP นำคณะผู้บริหารและพนักงานเดินหน้าลุยโครงการแบ่งปันน้ำใจ ต้านภัย COVID – 19 จัดอาหารแจกจ่ายบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน ผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ณ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี เมื่อเร็ว ๆ นี้

Cr.RYT9.com

เรื่องไม่เล็กของเหล็กเส้น กับงานโครงสร้างบ้าน

โครงสร้างบ้านคอนกรีตเสริมเหล็ก (คอนกรีตเสริมเหล็ก เรียกโดยย่อว่า ค.ส.ล.) เป็นโครงสร้างที่นิยมแพร่หลายในบ้านเรามานานหลายสิบปี ซึ่งเราจะพบว่ามี “เหล็กเส้น” เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างประเภทนี้ในหลายๆ ส่วน ได้แก่ เสา คาน พื้น รวมไปจนถึงงานผนังก่ออิฐ โดยเหล็กเส้นจะมีอยู่ 2 ประเภทคือ เหล็กเส้นกลม (Round Bar หรือ RB) และ เหล็กข้ออ้อย (Deformed Bar หรือ DB) ซึ่งมีความแตกต่างในการใช้งาน และมาตรฐานในการผลิต การเลือกใช้ให้เหมาะสม และการเลือกซื้อให้ถูกต้องจึงส่งผลต่อความแข็งแรงของโครงสร้างบ้าน และอาคารที่เราอยู่อาศัย

ลักษณะภายนอกของเหล็กเส้นกลมนั้นจะมีผิวเรียบเกลี้ยง หน้าตัดกลม โดยที่มีขายกันอยู่ทั่วไปจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 และ 9 มม. หรือที่ช่างมักเรียกว่า เหล็ก 3 หุน และ เหล็ก 4 หุน ตามลำดับ สำหรับขนาดอื่นได้แก่ 15, 19 และ 20 มม. ต้องสั่งซื้อพิเศษ ส่วนลักษณะของเหล็กข้ออ้อยคือเหล็กเส้นกลมที่มีบั้ง หรือครีบเป็นปล้อง ๆ ตลอดทั้งเส้น โดยครีบหรือปล้องจะมีลักษณะต่าง ๆ ตามผู้ผลิตแต่ละราย  ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่มีขายโดยทั่วไปคือ 12 และ 16 มม. สำหรับขนาดอื่นได้แก่ 10, 20, 25 และ 28 มม. ต้องสั่งซื้อพิเศษ  โดยทั้งเหล็กเส้นกลม และเหล็กข้ออ้อยแต่ละขนาดจะมีความยาวอยู่ที่ 10 และ 12 เมตร

หน้าที่ของเหล็กเส้นในโครงสร้าง ค.ส.ล. คือการรับแรงดึง ในขณะที่คอนกรีตทำหน้าที่รับแรงอัด หรือแรงกด ซึ่งนอกจากขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเส้นที่ต่างกันจะส่งผลเรื่องความสามารถในการรับแรงดึงของงานโครงสร้างแล้ว ส่วนประกอบทางเคมีในเนื้อเหล็กแต่ละประเภทก็มีผลในการรับแรงเช่นกัน เรียกว่า “ค่ากำลังรับแรงดึง” หรือ “ค่ากำลังรับแรงดึงที่จุดคราก” มีหน่วยเป็น “กิโลกรัมต่อตารางเซ็นติเมตร (กก. / ตร.ซม. หรือ ksc)” โดยสำหรับเหล็กกลมจะระบุเป็น SR (Steel Round Bar) และเหล็กข้ออ้อยจะระบุเป็น SD (Standard Deformed Bar) แล้วตามด้วยตัวเลขที่บ่งบอกค่ากำลังรับแรงดึง เช่น SR24 หมายถึง เหล็กกลมที่มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 2,400 ksc หรือ SD30 หมายถึง เหล็กข้ออ้อยที่มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 3,000 ksc เป็นต้น ดังนั้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเท่ากัน อาจมีค่ากำลังรับแรงดึงต่างกันได้ เช่น เหล็กข้ออ้อย 12 มม. จะมีทั้ง SD30, SD40 และ SD50 เป็นต้น และในทางกลับกันเหล็กเส้นที่มีกำลังรับแรงดึงเดียวกัน ก็จะมีเหล็กที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่ต่างกันได้ เช่น เหล็กข้ออ้อย SD30 ที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 12, 16, 20 และ 25 มม. เป็นต้น

ตัวอย่างการระบุค่ากำลังรับแรงดึงในรายการประกอบแบบ

ตัวอย่างการระบุขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางเหล็กเส้นที่ใช้ในตัวอย่างแบบขยายบันไดหล่อกับที่

ทั้งนี้ วิศวกรโยธา (โครงสร้าง) จะเป็นผู้คำนวณและกำหนดขนาดเหล็กที่เหมาะสม ซึ่งเจ้าของบ้านสามารถสังเกตได้ในแบบก่อสร้างโดยค่ากำลังรับแรงดึงจะระบุเป็นมาตรฐานไว้ที่หน้ารายการประกอบแบบ ส่วนขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางจะระบุในแบบขยายโครงสร้าง เช่น RB9, DB12, DB16

เหล็กข้ออ้อยนั้นจะถูกเลือกใช้ในงานโครงสร้างหลักประเภท เสา, คาน, บันได, ผนังรับน้ำหนัก รวมถึงบ่อ หรือสระน้ำต่าง ๆ  เพราะมีค่ากำลังรับแรงดึงมากกว่าเหล็กกลม และด้วยพื้นผิวที่ไม่เรียบจึงช่วยยึดเกาะกับเนื้อคอนกรีตได้ดีกว่า ส่วนเหล็กกลมจะใช้กับโครงสร้างพื้นหล่อกับที่, ครีบ ค.ส.ล. ที่ยื่นจากตัวบ้าน, งานหล่อเคาน์เตอร์ รวมถึงงานเสาเอ็น คานเอ็น (ทับหลัง) ของผนังก่ออิฐ และทำหน้าที่เป็นเหล็กยึดผนังเข้ากับเสาเพื่อป้องกันผนังล้มที่เรียกว่า “เหล็กหนวดกุ้ง” ด้วย

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของมาตรฐานเหล็กเส้นที่นำมาใช้ด้วย หากใครเคยได้ยินคำว่า “เหล็กเต็ม” และ “เหล็กเบา” ความแตกต่างกันของเหล็กทั้งสองประเภทนี้ส่งผลต่อการรับแรงในงานโครงสร้างพอสมควร โดย “เหล็กเต็ม” หรือ เหล็กโรงใหญ่ หมายถึงเหล็กที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง และน้ำหนักของเหล็กได้มาตรฐาน มอก. แต่ “เหล็กเบา” หรือ เหล็กโรงเล็ก เป็นเหล็กที่ผลิตให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางและน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน มอก. มักเป็นเหล็กรีดซ้ำ (นำเศษเหล็กที่ใช้งานแล้ว หรือเศษเหล็กเสียสภาพมารีดใหม่อีกครั้ง)

ถึงแม้เหล็กเบาจะมีราคาต่ำกว่าเหล็กเต็มประมาณ 40สตางค์ – 1 บาทต่อ 1 กิโลกรัม ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ก็อาจก่อให้เกิดอันตราย เพราะอาจจะไม่สามารถรับน้ำหนักตามที่แบบกำหนดไว้ได้  เพราะแท้จริงแล้ว เหล็กเบาเหมาะกับงานหล่อที่ไม่เน้นเรื่องการรับน้ำหนัก หรือ ในส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้างหลัก เท่านั้น เช่น ใช้เป็นเหล็กหนวดกุ้ง  ใช้เป็นเหล็กเสริมสำหรับหล่อเคาน์เตอร์ครัว หล่อกระถางต้นไม้คอนกรีต เป็นต้น

ทั้งนี้ มีวิธีการสังเกตง่ายๆ ว่าเหล็กที่จะเลือกใช้เป็นเหล็กเต็มหรือไม่ โดยสุ่มดูที่เหล็กแต่ละเส้นดังนี้
1. ต้องมียี่ห้อ ขนาดระบุบนเหล็กเส้น
2. ผิวเหล็กกลมต้องเรียบเกลี้ยงไม่เบี้ยว ไม่มีรอยปริแตก ส่วนเหล็กข้ออ้อยต้องมีบั้งระยะเท่ากัน สม่ำเสมอตลอดเส้น
3. เส้นผ่าศูนย์กลางและน้ำหนักต้องถูกต้องตามมาตรฐาน
4. เมื่อดัดโค้ง งอ ต้องไม่ปริแตก หัก ง่าย
5. เหล็กต้องไม่เป็นสนิมขุมกินเข้าไปในเนื้อเหล็ก (เป็นสนิมที่ผิวได้โดยขัดออก หรือใช้น้ำยาล้างสนิมเหล็กก่อนนำไปใช้ หรือหล่อคอนกรีตทับ)

ดังนั้น เพื่อให้งานโครงสร้างบ้านแข็งแรง เจ้าของบ้านควรยืนยันเลือกใช้เหล็กเต็ม อย่าปล่อยให้ผู้รับเหมาจัดซื้อให้โดยไม่ใส่ใจ

เรื่องไม่เล็กของเหล็กเส้น กับงานโครงสร้างบ้าน

ลักษณะของครีบหรือปล้องของเหล็กข้ออ้อยแบบต่าง ๆ
ที่มาภาพ :  http://encyclopedia2.thefreedictionary.com

เหล็กข้ออ้อยขนาดต่าง ๆ
ที่มาภาพ : http://agtcouae.com

ตัวอย่างการระบุขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางเหล็กเส้นที่ใช้ในแบบขยายคาน

ตัวอย่างการระบุขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางเหล็กเส้นที่ใช้ในแบบขยายฐานราก

ตัวอย่างการระบุขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางเหล็กเส้นที่ใช้ในตัวอย่างแบบขยายพื้นหล่อกับที่

กระถางต้นไม้คอนกรีต
ที่มาภาพ : www.ebay.com

ขอขอบคุณแหล่งที่มาจาก
http://www.jeam-thai.com/
http://www.ocpb.go.th/
http://dailynews.co.th/
http://app.tisi.go.th/
http://app.tisi.go.th/