รู้ทันราคาเหล็ก ไม่มีเจ็บตัว

ชื่อรายการสินค้า   น้ำหนัก   ราคา / กก.            

RB6        2.22       21.31    47.30   

RB9        4.99       20.54    102.50

DB12     8.88       19.71    175.00

DB16     15.78    19.52    308.00

DB20     24.66    19.51    481.00

DB25     38.53    19.52    752.00

รู้ทันราคาเหล็ก ไม่มีเจ็บตัว

     ปัจจุบันเราทราบกันดีว่าในปี 2566 นั้น ตลาดอุตสหกรรมเหล็กในประเทศไทยมีความผันผวนอย่างมากจากหลาย ๆ ปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นราคาเหล็กโลกที่ปรับตัวลดลงจากเศรษฐกิจโลกที่ยังมีผันผวนสูง แม้แต่ในอุตสหรรมเหล็กในประเทศจีนเองก็เป็นอีกหนึ่งในกำลังผลิตของไทย ช่วงปลายปี 2566 จะเป็นช่วงฤดูกาล ที่ต้องพักกำลังผลิตภายในประเทศจีน ทางประเทศไทยจะไม่ได้รับเหล็กนำเข้ามาได้ตามจำนวนที่ต้องการ หรือจะเป็นการใช้เหล็กในประเทศไทย อาจได้รับผลกระทบจากความล่าช้าในการอนุมัติโครงการก่อสร้างใหม่ ๆ ของภาครัฐในช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาลเมื่อเดือน พฤษภาคมที่ผ่านมา เป็นต้น

     ผลกระทบเหล่านี้ล้วนส่งผลไปทุกส่วนทั้งคนในวงการเหล็กและผู้ซื้อทั่วไป ดังนั้นหากเราอยากจะทราบแนวโน้มของราคาเหล็กในปี 2567

เราจะทราบได้อย่างไรว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาเหล็กปรับตัวขึ้นลงตลอดเวลา วันนี้สตีลเบสท์บายมีคำตอบให้

ราคาเหล็กปรับขึ้นลงเกิดจากอะไร?
เนื่องจากในทุก ๆ ปี ราคาเหล็กเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเราจะคาดคะเนราคาได้ยังไงแล้วปัจจัยใดที่ทำให้ราคาเหล็กผันผวนได้ขนาดนี้
สตีลเบสท์มีวิธีการดูดังคำอธิบายต่อไปนี้

“STEEL NEVER GROW ON TREE”
โดยความหมายก็คือ เหล็กไม่ได้งอกขึ้นมาเองได้เหมือนผลิตผลทางการเกษตร คำนี้หมายความว่า Supply ของเหล็กทั่วโลกมีที่มาที่ไปและสามารถคาดเดาและคำนวณได้แบบแม่นยำมากซึ่งเป็นไปตามหลัก Supply – Demand จึงสามารถคาดเดาได้ง่ายกว่าสินค้าประเภทอื่น ๆ อย่างเช่น ข้าว ยางพารา น้ำตาล ซึ่งยากต่อการคาดคะเนราคามากกว่า ดังนั้นหากเรา อยากจะทราบ Supply – Demand ของอุตสาหกรรมเหล็กอย่างกว้าง ๆ เพื่อให้เข้าใจถึงกลไกราคา ผมจะอธิบายได้ดังนี้

กลไกของราคาเกิดจากปัจจัยอะไร?
Demand โลก ประมาณ 1,600 ล้านตัน ต่อปี โดยอ้างอิงใน ปี 2559 โดยปัจจุปัน Demand โลก อยู่ที่ประมาณ 1,800 ล้านตัน ต่อปี
Supply โลก มี ผลผลิต (Crude output) ที่ใกล้เคียงกัน เพียงแต่ กำลังผลิต (Capacity) โลก เรามีความสามารถในการผลิตเหล็กมากกว่าความต้องการใช้เหล็ก ซึ่งในประเทศมีปริมาณการใช้เหล็ก เฉลี่ย 18 ล้านตันต่อปี ขณะที่ปริมาณการผลิตในประเทศโดยเฉลี่ยมีอยู่เพียง 7 ล้านตันต่อปี คิดเป็น 50% – 70% เท่านั้น จึงส่งผลให้จำเป็นต้องมีการนำเข้าเหล็กจำนวนมาก
ประเทศจีน เป็นเจ้าของผลผลิต (Crude output) ถึงครึ่งนึงของทั้งโลก คือประมาณ 808 ล้านตันต่อปี โดยที่ผลผลิตมหาศาลของจีน ส่วนใหญ่ถูกใช้ภายในประเทศ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีส่วนเกิน โดยเฉลี่ย 100 ล้านตันต่อปี ถูกส่งออกไปขายทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการนำเข้า ปี 2016 อยู่ที่ 17.2 ล้านตัน
จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้เราได้ข้อสรุปราคาเหล็กประเทศไทยดังนี้

ปริมาณการใช้เหล็กในประเทศไทย นับเป็นเพียง 1% ของทั้งโลก แทบจะเรียกได้ว่าเล็กมากจนไม่มีนัยสำคัญในตลาดโลกเลย
ประเทศไทยไ่ม่มีอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ ถลุงเหล็กใช้เองไม่ได้ เหล็กที่ใช้งานในประเทศเกือบ 100% มาจากการนำเข้าทั้งหมด ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
ตัวเลขแตกต่างระหว่าง Demand = 19 ล้านตัน กับ Import = 17.2 ล้านตัน เกิดจากการ Recycle เศษเหล็กในประเทศประมาณ 1.5 ล้านตัน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก
ตัวอย่างดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือนตุลาคม ปี 2566 อยู่ที่ระดับ 89.38 หดตัวร้อยละ 4.29 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี2565 ส่งผลให้ช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566 หดตัวร้อยละ 5.04 เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศยังฟื้นตัวช้า

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.)
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า
“ราคาเหล็กในประเทศไทย ขึ้นลง ตามราคาเหล็กโลก อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นเดียวกับราคาน้ำมัน ”การจะคาดเดาแนวโน้มราคาเหล็กในประเทศไทย เราจะต้องมีความเข้าใจความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของราคาเหล็กโลกเป็นอย่างดีก่อนจึงจะคะเนราคาเหล็กออกมาได้ อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงยังมีปัจจัยแวดล้อมอีกหลายอย่างซึ่งส่งผลต่อราคาเหล็กในไทย อีกมาก อาทิ เช่น
1) กฎหมาย AD, Safeguard หรือก็คือ มาตรการภาษีเพื่อปกป้องราคาเหล็กภายในประเทศ
2) กฎหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.)
3) ปริมาณสต็อค ในช่วงเวลาต่างๆ
4) สภาพคล่องในตลาด

และในช่วงปี 2566 นี้ ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากความล่าช้าในการอนุมัติโครงการก่อสร้างใหม่ ๆ ของภาครัฐ ในช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล เมื่อเดือน พฤษภาคมที่ผ่านมา ส่งผลต่อการอนุมัติงบประมาณประจำปี 2567 ที่เกิดล่าช้านั้น ผมคาดการณ์ไว้ว่าทางผู้ซื้อเหล็กรายย่อย และรายใหญ่จะต้องการเหล็กมากขึ้นคือช่วงเดือน มกราคม-เมษายน ปี 2567 (เป็นหน้าขายเหล็ก 1 ถึง 4 เดือนแรก เหล็กจะขายได้เยอะที่สุดในทุกปี) ซึ่งทางสตีลเบสท์บายเองก็มีการเตรียมตัวใน ปี 2567 ที่จะมาถึง ในการจำหน่ายเหล็กก่อสร้างทุกชนิดเพื่อให้ผู้ซื้อมีทางเลือกที่หลากหลายขึ้น

ขอบคุณข้อมูลจาก https://steelbestbuy.com/daily-steel-price/