ท่อและอุปกรณ์ท่อHDPE , ท่อPE

มาตรฐานมอก. แบรนด์ดังครบ สามารถใช้ได้ทั้งงานอุตสาหกรรม งานราชการ งานเกษตร พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ ราคาพร้อมส่วนลดพิเศษสำหรับลูกค้าทั่วประเทศ 

ท่อ HDPE  ย่อมาจากคำว่า High Density Polyethylene  หรือที่เรียกกันชื่อหนึ่งว่า ท่อ PE  โดยท่อ HDPE คือท่อที่มีลักษณะงอ ดัดโค้งได้ สามารถคดเคี้ยวไปมาตามลักษณะของตัวอาคาร มีสีดำ ทนต่อแสงอาทิตย์และรังสียูวีได้ดี และมีความแข็งแรงทนต่อแรงกระแทกได้ดี มีความยืดหยุ่นสูง ปัจจุบันนิยมใช้สำหรับเป็นท่อระบบน้ำดื่ม ไม่มีสารพิษหรือสารเคมีตกค้าง สารก่อมะเร็ง ทนต่อการกัดกร่อนไม่เป็นสนิม อีกทั้งสามารถทนต่อแรงดันน้ำได้ดี สามารถเชื่อต่อได้ง่ายไม่เสี่ยงต่อการรั่วซึม จึงเหมาะสำหรับการเดินระบบน้ำประปาภายในและภายนอกอาคาร สามารถเดินบนผิวดินหรือฝังดินได้อย่างสะดวกและปลอดภัย

ราคาท่อและอุปกรณ์ท่อHDPE , ท่อPE ปี2564

ราคาท่อHDPE และ ขนาดท่อHDPE ท่อHDPE SCG , ท่อHDPE UHM , SR, SK, TAP ท่อHDPEคาดฟ้า ,  ท่อHDPEคาดส้ม

PE80 ราคาต่อ (บาท/เมตร)
ขนาดPN 3.2PN 4PN 6PN 8PN 10PN 12.5PN 16PN20
มมนิ้วSDR 41SDR 33SDR 21SDR 17SDR 13.6SDR 11SDR 9SDR 7.4
201/213161823
253/41621242933
321262732454554
401 1/4 334049696982
501 1/2506175107107127
632567897118171171200
752 1/281112138168240240285
90116152188228329329388
11041702280279338488488581
PE100 ราคาต่อ (บาท/เมตร)
ขนาดPN 4PN 6PN 8PN 10PN12.5PN 16PN 20 
มมนิ้วSDR 33SDR 21SDR 17SDR 13.6SDR 11SDR 9SDR 7.4 
201/21719 
253/4222531 
32128344148 
401 1/4 3541516072 
501 1/24452647594111 
6326981101123148175 
752 1/295116143174207250 
90132161198241289347 
1104194241295357429516 

ท่อ HDPE ติดตั้งได้กี่แบบ ? อะไรบ้าง
รู้หรือไมว่า ท่อHDPEหรือ ท่อPE มีวิธีการติดตั้งกี่แบบ และมีวิธีการอย่างไรบ้าง ไปดูกันค่ะ

 การต่อท่อHDPE นั้นทำได้2วิธี วิธีแรกคือ การต่อด้วยข้อต่อแบบ สวมอัด(Compression) ขนาดท่อตั้งแต่20-110มม. ที่ถูกออกแบบมาใช้ เฉพาะกับท่อHDPE โดยข้อต่อจะใช้การสวมอัดและขันเกลียวให้แน่น โดยไม่ต้องใช้กาว วิธีที่2 คือการเชื่อมท่อด้วยความร้อน ซึ่งเป็นเทคนิคการให้ความร้อนกับท่อ ที่จะทำการเชื่อมพร้อมๆกันทั้งสองด้าน ของชิ้นงานจนพลาสติกที่หลอมมาสัมผัสกัน ที่บริเวณผิวแต่ละด้าน การได้รับความร้อนต่อเนื่องไปเรื่อยๆ นั้นทำให้ผิวของท่อเกิดการหลอมละลาย ทำให้ผนังหลอมเหลว และรวมเป็นเนื้อเดียวกันแบบสวมล็อค ต่อด้วยอุปกรณ์ 



ข้อต่อท่อ HDPE แบบสวมล็อค
การต่อโดยใช้ข้อต่อแบบสวมล็อค (Compression) ที่ถูกออกแบบมาสำหรับท่อขนาดตั้งแต่ 20-110 mm. ซึ่งข้อต่อแบบสวมล็อค (Compression) สาทารถทนแรงดันการใช้งาน ในการส่งน้ำสูงสุดถึง 10 บาร์ โดยมีขั้นตอนง่ายๆดังนี้ 

คอมเพลสชั่น(สวมล็อค) อุปกรณ์ข้อต่อสำหรับท่อ PE ผลิตจากวัตถุดิบ เกรดA ใช้สำหรับผลิตท่อน้ำโดยเฉพาะ โดยผ่านกระบวนการผลิตที่ทันสมัย มีระบบควบคุมคุณภาพ ตามมาตรฐาน ที่กำหนดทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การทดสอบคุณสมบัติของวัตถุดิบ และ ทดสอบตามมาตรฐาน  ข้อต่อท่อระบบสวมอัด (Compession) สามารถต่อท่อขนาดตั้งแต่ 1/2-4″ (นิ้ว) เหมาะกับงานสวน หรือท่อน้ำประปาเข้าบ้านเอง

ข้อต่อท่อ HDPE แบบเชื่อม
เป็นกระบวนการเชื่อมด้วยความร้อน ที่ปลายท่อทั้งสองด้าน ทำให้ท่อเชื่อมต่อกันแบบถาวร อีกทั้งยังเป็นวิธีการที่ประหยัด และทำให้ของเหลวไหลผ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย โดยจะนำปลายท่อทั้งสองด้านมาเชื่อมต่อกัน ภายใต้ความดัน และทิ้งไว้ให้เย็นในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งข้อต่อที่ได้จะสามารถทนต่อแรงดันที่ปลายท่อ ได้เชื่อมต่อชนด้วยความร้อน เหมาะกับงานแรงดันสูงงานโครงการ ,อุตสาหกรรมท่อขนาดใหญ่ตั้งแต่ 5” ขึ้นไป

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.pipedee.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%ADhdpe-%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%ADpe

เทคนิคเทพื้นคอนกรีตอย่างไร ให้พื้นเรียบสวย

สำหรับใครหลายคนแล้ว การเทพื้นคอนกรีตอาจดูเป็นเรื่องยากและมีขั้นตอนซับซ้อน แต่เนื่องจากปัจจุบันมีเครื่องมือ อุปกรณ์ ที่มอบความสะดวกสบายมากมาย รวมถึงปูนซีเมนต์สำเร็จรูปที่ช่วยเพิ่มความสะดวกในการเทพื้นบ้าน ส่งผลให้การเทพื้นปูนง่ายขึ้น ช่วยประหยัดเวลาและค่าแรง แต่อย่างไรก็ตามหากเป็นการเทปูนพื้นในที่ที่ไม่กว้างมากจนเกินไป การผสมปูเทพื้นด้วยตัวเองก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดีอยู่ไม่น้อย เพราะช่วยประหยัดงบประมาณในการจ้างช่างได้เป็นอย่างดี แต่ควรจะเตรียมตัวอย่างไร มีเทคนิคอะไร และควรระวังอะไรบ้างนั้น ตามจระเข้ไปดูกันได้เลย!

วิธีการเตรียมเทพื้นคอนกรีต

1. การปรับพื้นก่อนเทคอนกรีต

พื้นทรายและตะแกรงเหล็กเสริม

ภาพ: พื้นทรายและตะแกรงเหล็กเสริม

ก่อนเทพื้นคอนกรีต อันดับแรกที่ต้องให้ความสำคัญจะต้องปรับระดับหน้าดินให้มีความสม่ำเสมอกัน อัดบดดินให้เรียบเสมอกัน หากเป็นพื้นที่ภายในบ้าน ควรถมดินสูงกว่านอกบ้านประมาณ 50 – 80 เซนติเมตร หากสูงกว่านี้ หรือหากไม่ปรับหน้าดินให้เสมอกัน จะส่งผลให้เกิดแรงดันและเกิดความเสียหายได้ หลังจากนั้นเททรายให้มีความหนาประมาณ 5 เซนติเมตร และอัดบดให้แน่น หากไม่บดให้แน่นจะทำให้ทรายยุบตัว และต้องใช้คอนกรีตปริมาณมากกว่าเดิม

2. กำหนดความกว้างและรอยต่อของการเทพื้นคอนกรีต

รอยต่อบนพื้นคอนกรีต

ภาพ: รอยต่อบนพื้นคอนกรีต

ควรกำหนดพื้นที่ให้ที่ต้องการเทพื้นคอนกรีตให้เรียบร้อย ก่อนวางแบบหล่อ และควรกำหนดของรอยต่อ เนื่องจากคอนกรีตนั้นมักจะยืดหรือหดตัวตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง และอาจส่งผลให้เกิดการแตกร้าวได้ ดังนั้นควรกำหนดรอยต่อกว้างประมาณ 5-10 มิลลิเมตร โดยควรกำหนดผนังของรอยต่อให้รอบคอบ เพราะหากทำรอยต่อไม่เหมาะสม จะทำให้ไม่สามารถป้องกันการแตกร้าวได้อย่างที่ควรจะเป็น

3. วัดความหนาของพื้นที่

ความหนาของพื้นคอนกรีต

ภาพ: ความหนาของพื้นคอนกรีต

หลังจากปรับพื้นผิวให้เรียบเสมอกันและวัดพื้นแล้ว ควรวัดความหนาของมุมต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้กะปริมาณปูนซีเมนต์ที่ใช้ผสมปูนเทพื้น โดยควรวัดจากหน้างานโดยตรง เพราะหากใช้เพียงข้อมูลจากการจดบันทึกเพียงอย่างเดียวอาจเกิดปัญหากะปริมาณปูนซีเมนต์ผิดได้ ซึ่งทำให้งานเทพื้นคอนกรีตล่าช้าและเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นได้

4. การเตรียมแบบหล่อที่แข็งแรง

แบบหล่อไม้

ภาพ: แบบหล่อไม้

แบบหล่อปูนในการเทพื้นคอนกรีต สามารถใช้ได้ทั้งไม้ พลาสติก เหล็กสำเร็จรูป แต่จะต้องให้ความสำคัญกับความแข็งแรง และบริเวณที่อาจเกิดรอยรั่วต่าง ๆ เพื่อป้องกันน้ำปูนไหลทะลัก โดยเฉพาะบริเวณใกล้กับเหล็กเสริม แนะนำใช้เหล็กกระทุ้ง หรือเครื่องจี้ไม่ให้น้ำปูนไหลออกจากแบบหล่อ ในกรณีที่ใช้ไม้แบบพลาสติกหรือเหล็กสำเร็จรูป มักไม่ค่อยมีปัญหานัก เพราะวัสดุเหล่านี้ถูกออกแบบเพื่อการใช้งานหล่อเทพื้นปูนอยู่แล้ว

5. วางตะแกรงเหล็กเสริมในตำแหน่งที่ถูกต้อง

การวางตะแกรงเหล็กเสริม

ภาพ: การวางตะแกรงเหล็กเสริม

การวางตะแกรงเหล็กเสริม (Wire Mesh) ควรอยู่ในตำแหน่งต่ำกว่าผิวคอนกรีตประมาณ 3-5 เซนติเมตร หรือหากต้องการวางตะแกรงเหล็กเสริมให้สะดวกมากขึ้น สามารถหนุนเหล็กด้วยปูน เพื่อใหม่ให้เหล็กสัมผัสกับดิน อีกทั้งเหล็กยังช่วยเพิ่มความแข็งแรง ลดโอกาสเกิดการแตกร้าว รวมถึงช่วยให้ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณภูมิช่วงกลางวันและกลางคืน

หลังจากเตรียมพื้นสำหรับเทพื้นคอนกรีตเรียบร้อยแล้ว ต่อมาก็เป็นเทคนิคการเทพื้นให้เรียบสวยและแข็งแรง จะมีอะไรบ้างนั้นไปดูกันได้เลย!

เทคนิคการเทพื้นคอนกรีตให้เรียบสวย

1. ผสมปูนให้ได้ปริมาณที่ถูกต้อง

การผสมคอนกรีต

ภาพ: การผสมคอนกรีต

การผสมปูนเทพื้นบ้านเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เพราะต้องใช้วิธีผสมปูนซีเมนต์เทพื้นในอัตราส่วนที่เหมาะสม สำหรับโครงการสร้างทั่วไป นิยมใช้ปูนซีเมนต์ ทราย หิน ในอัตราส่วน 1 : 2 : 4 ช่วยให้พื้นคอนกรีตที่ได้แข็งแรง และรับน้ำหนักได้เป็นอย่างดี หากไม่แน่ใจเรื่องสูตรผสมปูนเทพื้น ควรปรึกษาผู้เชียวชาญ หรือศึกษาการผสมปูนในอัตราส่วนที่ถูกต้องบนถุงบรรจุปูนซีเมนต์แต่ละประเภท

2. เทคอนกรีตลงในพื้นที่ที่ต้องการ

การเทพื้นคอนกรีต

ภาพ: การเทพื้นคอนกรีต

หลังจากเตรียมพื้นที่เรียบร้อยแล้ว ให้เทปูนที่ผสมเสร็จแล้วลงบนพื้นที่ที่กำหนดไว้ จากนั้นเกลี่ยให้ทั่วถึง เมื่อได้ระดับที่ต้องการจึงวางตะแกรงเหล็กลงไปอีกชั้นหนึ่ง และเทคอนกรีตทับลงไปอีกครั้งหนึ่ง ตามลำดับที่กำหนดไว้ หรือจะใช้วิธีเสริมลูกปูนก่อนวางตะแกรงเหล็กเสริมทับ แล้วเทคอนกรีตให้เข้าทั่วตามระดับที่ต้องการ การใช้วิธีนี้จะช่วยลดขั้นตอนการเทพื้นคอนกรีตได้อีกทางหนึ่ง

3. แต่งหน้าพื้นผิว

แต่งพื้นผิวคอนกรีต

ภาพ: แต่งพื้นผิวคอนกรีต

หลังจากเทปูนพื้นให้ได้ตามระดับที่ต้องการเรียบร้อยแล้ว ก็ปรับแต่งพื้นผิวหรือเกลี่ยพื้นผิวให้เรียบเสมอกัน ด้วยการใช้พลั่วตบผิวคอนกรีต วิธีนี้จะช่วยลดฟองอากาศบนพื้นผิว จะช่วยให้ผิวหน้าเรียบมากยิ่งขึ้น หากมีน้ำเยิ้มที่ผิวหน้าพื้นปูนซีเมนต์ ให้ทิ้งไว้จนน้ำหายเยิ้มเสียก่อน แล้วปาดน้ำทั้งหมดทิ้ง เพื่อช่วยป้องกันผิวหน้าเป็นฝุ่นหลังแห้งตัว

4. ตรวจสอบความผิดปกติ

พื้นคอนกรีตที่เริ่มเซ็ตตัว

ภาพ: พื้นคอนกรีตที่เริ่มเซ็ตตัว

หลังเทพื้นคอนกรีตเรียบร้อยแล้ว ควรสังเกตดูความผิดปกติต่าง ๆ เช่น รอยรั่ว รอยร้าว รวมไปถึงตรวจสอบว่ามีคอนกรีตโก่งตัวหรือไม่ เพื่อที่จะแก้ข้อผิดพลาดได้เลยทันที ช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ที่อาจทำให้เสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเป็นจำนวนมาก

5. บ่มคอนกรีต

การบ่มคอนกรีต

ภาพ: การบ่มคอนกรีต

หลังจากเทพื้นคอนกรีตและปรับพื้นผิวเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงขั้นตอนบ่มคอนกรีต โดยปล่อยคอนกรีตให้เริ่มแข็งตัว และฉีดน้ำให้ชุ่ม แล้วทิ้งไว้ไม่ต่ำกว่า 7 วัน จะช่วยให้พื้นคอนกรีตที่ได้แข็งแรง ทนทานมากยิ่งขึ้น โดยขั้นตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก หากไม่บ่มคอนกรีตในระยะเวลาที่เหมาะสม จะทำให้พื้นรับแรงได้น้อยกว่าที่ควร และทำให้เกิดการแตกร้าวได้ง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งยังอาจทำให้เกิดสนิมที่เหล็กเสริมได้ง่ายมากขึ้นอีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.jorakay.co.th/blog/owner/floor/how-to-pour-concrete-make-the-floor-smooth-and-beautiful

ลงฟุตติ้ง ฐานบ้านอย่างไรให้ปลอดภัย และอยู่ได้อย่างมั่นคง

ฟุตติ้งหรือฐานราก คือชิ้นส่วนของบ้านที่ต้องก่อสร้างบ้านเป็นลำดับแรก ทั้งยังเป็นโครงสร้างหลักในการรับน้ำหนักของบ้านทั้งหมดลงสู่พื้นดิน การก่อสร้างรากฐานและลงฟุตติ้งให้มั่นคงแข็งแรงจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกงานรับสร้างบ้านสร้างอาคารต้องให้ความสำคัญ บทความนี้ Conventure บริษัทรับสร้างบ้านมืออาชีพจะมามอบความรู้ที่ถูกต้องในการลงฟุตติ้ง ฐานบ้านอย่างไรให้ปลอดภัยและอยู่ได้อย่างมั่นคง จะมีเคล็ดลับอย่างไรบ้างนั้นมาดูไปพร้อมกันเลย

ประเภทของฟุตติ้ง ฐานรากที่นิยมใช้

ก่อนที่จะเริ่มต้นเรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการลงฟุตติ้งในการสร้างบ้านนั้น คุณจำเป็นต้องรู้จักกับประเภทของฟุตติ้งหรือฐานรากให้ดีเสียก่อน ซึ่งฟุตติ้งที่ได้รับความนิยมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. ฐานรากแผ่

ฟุตติ้งหรือฐานรากแผ่เป็นฐานรากที่ก่อสร้างได้ง่ายที่สุด ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องใช้เสาเข็มทำให้การสร้างได้อย่างรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายในการสร้างบ้านไปได้ในระดับหนึ่งเลย แต่การลงฟุตติ้งรากแผ่นั้นก็มีข้อจำกัดในการใช้งานเช่นกัน นั้นก็คือจำเป็นต้องก่อสร้างบนพื้นดินที่มีความแข็งแรงและต้องเป็นดินแข็งเท่านั้น ไม่ควรก่อสร้างบนชั้นดินอ่อน เพราะอาจทำให้โครงสร้างยุบตัวได้

  1. ฐานรากชนิดรองรับด้วยเสาเข็ม

ฐานรากชนิดนี้จำเป็นต้องให้บริษัทรับสร้างบ้านมืออาชีพดำเนินการและควบคุมงานเท่านั้น เพราะฐานรากชนิดรองรับด้วยเสาเข็มจะแบกรับน้ำหนักตัวบ้านทั้งหมด และถ่ายน้ำหนักลงสู่ตัวเสาเข็มก่อน จากนั้นเสาเข็มจะถ่ายน้ำหนักทั้งหมดลงสู่พื้นดินในชั้นที่เสาเข็มปักลงไปลึกที่สุดแทน วิธีนี้จึงจำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญในการรับสร้างบ้านตรวจสอบสภาพดิน ทั้งยังต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านขนาดน้ำหนักว่าพื้นดินสามารถรองรับได้พอหรือไม่

เทคนิคการลงฟุตติ้งให้ฐานบ้านปลอดภัยและมั่นคง

  • สำรวจสภาพแวดล้อมของดินบริเวณที่ลงฟุตติ้ง

ขั้นตอนแรก ผู้เชี่ยวชาญในการรับสร้างบ้านจะดำเนินการตรวจสอบสภาพแวดล้อมของดินว่ามีความเหมาะสมต่อการลงฟุตติ้งอย่างไรบ้าง โครงสร้างและแบบแปลนในการสร้างบ้านจำเป็นต้องมีการลงเสาเข็มด้วยหรือไม่

  • เลือกฟุตติ้งให้ถูกประเภท

เมื่อได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสภาพดินในการลงฟุตติ้งแล้ว บริษัทรับสร้างบ้านจะดำเนินการเลือกฟุตติ้ง โดยคำนึงจากคุณภาพและสภาพของชั้นดินนั้น หากชั้นดินแน่นแข็งก็จะเลือกใช้ฐานรากแผ่ แต่หากเป็นชั้นดินอ่อนก็จะเลือกใช้ฐานรากชนิดรองรับด้วยเสาเข็มแทน

  • เลือกใช้ปูนโครงสร้างในการลงฟุตติ้งเท่านั้น

คุณภาพวัสดุก่อสร้างบ้านเป็นสิ่งสิ่งสำคัญ ไม่เว้นแม้กระทั่งการลงฟุตติ้ง โดยปูนที่ใช้ในการลงฟุตติ้งจำเป็นต้องเลือกใช้ปูนโครงสร้างเท่านั้น ห้ามใช้ปูนฉาบเด็ดขาด เพราะหากรากฐานทรุดตัวลง ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างทั้งหมดของบ้านได้

  • ลงเสาเข็มและฟุตติ้งให้ถูกวิธี

เริ่มจากการเทคอนกรีตทับหน้าดิน ก่อนเทให้ทำความสะอาดเสาเข็มและตกแต่งเข็มให้ได้ระดับตามที่บริษัทรับสร้างบ้านกำหนด จากนั้นเทคอนกรีตหยาบแบบท้องฐานราก เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกเจือปนในคอนกรีต และให้เสาเข็มโผล่พ้นคอนกรีตประมาณ 5 ซม. เพื่อให้มั่นใจว่าฐานรากได้ถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาเข็ม หลังจากนั้นให้ใช้ลูกปูน หนุนตะแกรงเหล็ก ทั้งด้านล่างและด้านข้าง จากนั้นจึงเทปูนคอนกรีตลงไป ระหว่างเทต้องมีการกระทุ้งคอนกรีตด้วยมือหรือใช้เครื่องสั่น เพื่อป้องกันไม่ให้ฐานรากเป็นโพรง

  • ควบคุมและตรวจสอบงานลงฟุตติ้งทุกขั้นตอน

ในขณะที่ลงฟุตติ้ง ผู้เชี่ยวชาญในการรับสร้างบ้านต้องควบคุมและตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา โดยให้ตรวจสอบขนาดและตำแหน่งของฐานรากให้ตรงกับแบบ ระยะศูนย์กลางและเสาตอม่อของบ้าน ตรวจสอบความกว้าง ความยาว และความลึกของหลุมฐานราก ตรวจสอบวัสดุในการก่อสร้างฐานรากและเสาเข็มให้ตรงตามแบบ ตรวจสอบสภาพในก้นหลุมฐานราก ตรวจสอบการติดตั้งเหล็กเสริมให้ตรงตามแบบและใช้ลูกปูนรองระยะหุ้มคอนกรีตเสริมเหล็กตามข้อกำหนดว่าด้วยมาตรฐานคอนกรีตเสริมเหล็ก ตรวจสอบการเทคอนกรีต การถอดแบบหล่อคอนกรีต การบ่มคอนกรีต และหลังจากถอดแบบฐานรากแล้วต้องรีบกลบหลุมทันที อย่าให้น้ำขัง ซึ่งทั้งหมดนี้คือสิ่งที่บริษัทรับสร้างบ้านจะช่วยดำเนินการให้ทั้งหมด หากปฏิบัติได้ตามขั้นตอนเทคนิคเหล่านี้ รับรองการสร้างบ้านของคุณจะมีความมั่นคงปลอดภัย ฐานบ้านแข็งแรงแน่นอน

หากรากฐานของชีวิตคือความมั่นคง รากฐานของบ้านก็เช่นเดียวกัน การสร้างบ้านจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญในด้านโครงสร้างและการลงฟุตติ้งฐานบ้านที่แข็งแรงมั่นคง เพื่อให้สามารถรองรับน้ำหนักของตัวบ้านไว้ได้ทั้งหมด ไม่เกิดการทรุดตัวไปตามกาลเวลา สำหรับท่านใดที่กำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญในการรับสร้างบ้านมืออาชีพ ราคาถูก และดำเนินการอย่างมืออาชีพ สามารถใช้บริการ Conventure บริษัทรับสร้างบ้านชั้นนำแห่งประเทศไทยได้ เรามีทีมงานวิศวกร สถาปนิก และช่างฝีมือมากประสบการณ์มากมาย พร้อมให้คำปรึกษาตั้งแต่การตรวจสอบสภาพหน้าดิน ตลอดจนดำเนินการลงฟุตติ้งที่ถูกต้อง และสร้างบ้านให้ตรงตามคอนเซ็ปต์และความต้องการของได้ รับรองคุณจะได้บ้านที่มีฐานรากที่มั่นคงปลอดภัย สวยงามแน่นอน

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.conventure.co.th/blog/132

เหล็กไวร์รอท

ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็ก : 2.8 – 12 มิลลิเมตร
เกรดของเหล็ก : M6/M8/M12/M15/M17
จำนวนน้ำหนัก ต่อหนึ่งยูนิต : 120 – 2,000 กิโลกรัม , 12 มม. = 2,071 กิโลกรัม
มาตรฐานอุตสาหกรรม : Tis 24-2559

เหล็กไวร์รอท Wire Rod คือผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าชนิดคาร์บอนต่ำรีดร้อนกึ่งสำเร็จรูป ลักษณะหน้าตัดเป็นแบบกลม เป็นเส้นยาวที่ม้วนเป็นขด โดยลักษณะทั่วไปจะนำไปผลิตต่อด้วยการดึงเย็น เพื่อนำไปผลิตอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ตะปู ลวดหนาม ลวดผูกเหล็ก ตะแกรง น็อต สกรู ลวดเชื่อม ลวดเสริมยางรถยนต์ เป็นต้น ไม่เหมาะที่จะนำไปใช้เป็นเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต

เหล็กไวร์รอท Wire Rod มีชั้นคุณภาพให้เลือกตั้งแต่ SWRM6 – SWRM22 ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมีตั้งแต่ 5.5 มิลลิเมตร และยังผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรมไทย

คุณลักษณะของเหล็กไวร์รอท Wire Rod 

– เป็นเหล็กคาร์บอนต่ำ คาร์บอน ≤ 0.08%
– เป็นเหล็กม้วนยาวๆ เป็นขด หนักประมาณ 1.5 ตัน
– มีขนาดลวดตั้งแต่ 5.5 มม. ถึง 19 มม.


ขนาดของเหล็กไวร์รอท (Wire Rod)

ขนาดของเหล็กไวร์รอท (มิลลิเมตร)น้ำหนักต่อขดประมาณ (ตัน)
5.51.3-1.5
61.3-1.5
6.51.3-1.5
71.3-1.5
7.51.3-1.5
81.3-1.5
8.51.3-1.5
91.3-1.5
9.51.3-1.5
101.3-1.5
111.3-1.5
121.3-1.5
131.3-1.5
141.3-1.5
151.3-1.5
161.3-1.5
171.3-1.5
181.3-1.5
191.3-1.5

ขั้นตอนการผลิตเหล็กไวร์รอท Wire Rod 

ผลิตภัณฑ์เหล็กรูปทรงยาวที่ผลิตมาจากการรีดร้อนเหล็กแท่ง หรือเหล็ก บิลเล็ท Billet โดยเหล็กไวร์รอด Wire ฑod ลักษณะหน้าตัดของเหล็กลวดที่เราผลิตนั้นเป็นหน้าตัดกลม เส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 5.5 mm. ขึ้นไป โดยทั่วไปเหล็กลวดจะถูกนำไปผลิตต่อด้วยการดึงเย็น Cold Drawn เพื่อผลิตเป็นลวดเหล็กกล้า (Steel wire) และสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับชั้นคุณภาพของเหล็ก (SWRM) ซึ่งโดยทั่วไปจะเรียกเป็นตัวย่อ M6, M8, M12, M15 เป็นต้น
ลวดเหล็กกล้า คาร์บอนต่ำ Low Carbon Wire และลวดเหล็กกล้าดึงเย็นเสริมคอนกรีต Cold Drawn Wire for Concrete Reinforcement ผลิตจากลวดคาร์บอนต่ำเกรด เอ ชนิดวัตถุดิบ JIS G3505 SWRM 6-17 ผ่านการรีดลดขนาดแบบเย็นจนได้ลวดขนาดต่างๆ

การผลิตเหล็กลวดคาร์บอนต่ำ (Wire Rod) ตาม มอก 348-2540 ( JIS G 3505 มีขนาดตั้งแต่ 5.5 มม. ถึงขนาด 19 มม. โดยมีน้ำหนักต่อม้วน 1,300 กก. ถึง 1,500 กก. ในเกรด SWRM 6 , SWRM 8, SWRM 10 , SWRM 12 , SWRM15, SWRM 17, SWRM 20 , SWRM 22 เหมาะสำหรับเป็นวัตถุดิบใช้ในการผลิต ลวดผูกเหล็ก ,ลวดเหล็ก , ลวดตาข่าย , ลวดหนาม , ลวดชุบสังกะสี ,ตะปู , ตะแกรงลวดเหล็กเสริมคอนกรีตและอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีการผลิตลวดเกรด SWRY 11 ซึ่งเหมาะสำหรับการผลิตเป็นแกนลวดเชื่อมไฟฟ้า

การใช้งานเหล็กไวร์รอด

การใช้งาน  เหมาะกับการใช้ทำ ลวดชุบสังกะสี ลวดหนาม ตะปูตอกไม้ โซ่เหล็ก รั้ว ลวดผูกเหล็ก หน้ากากพัดลม เหล็กปลอก ตะแกรงเหล็ก ไวร์เมช เป็นต้น

เหล็กลวด (Wire Rod) คือ ผลิตภัณฑ์เหล็กรูปทรงยาวที่ผลิตมาจากการรีดร้อนเหล็กแท่ง ลักษณะหน้าตัดมีทั้งแบบกลม (Round) สี่เหลี่ยม (Hexagonal) ขึ้นอยู่กับลักษณะของการใช้งาน โดยทั่วไป เหล็กลวดจะนำไปผลิตต่อด้วยการดึงเย็น (Cold Drawn) เพื่อผลิตเป็นลวดเหล็กที่มีผิวเรียบขึ้น สำหรับนำไปใช้ในงานต่างๆ ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่อไป เช่นผลิตตะปู ตะแกรง น็อต สกรู ลวดเชื่อม ลวดเสริมยางรถยนต์ เป็นต้น เหล็กลวดสามารถแบ่งตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ปลายทางได้เป็น 5 กลุ่มดังต่อไปนี้

1.เหล็กลวดสำหรับผลิตลวดเหล็กใช้งานทั่วไป (General Use)
นำไปทุบหัวและทำคมสำหรับผลิตตะปู (Nail) หรือนำไปทำการเชื่อมเพื่อผลิตตะแกรงลวดเหล็กกล้าเสริมคอนกรีต (Wire mesh) ตะแกรงลวดหนาม (Barbed Wire) และรั้วทีทำจากลวดเหล็ก (Wire Fence)

2.เหล็กลวดสำหรับผลิตลวดเชื่อม (Welding Wire)
Metal Inert Gas (MIG) และ Cover Electrode

3.เหล็กลวดสำหรับผลิตสลักภัณฑ์ (Fastener)
นำไปทำแป้นเกลียว (Nut) สกรู (Screws) สลัก (Bolt) หมุด (Pin) พรุกฝังปูน (Anchor) ตาปูหัวใหญ่ (Stud) ปลอก (Sleeve)

4.เหล็กลวดสำหรับนำไปใช้ผลิตลวดเหล็กคาร์บอนสูงสำหรับงานก่อสร้าง
ลวดเหล็กคาร์บอนสำหรับคอนกรีตอัดแรงชนิดเส้นเดี่ยว (Steel Wire for Prestressed Concrete)
ลวดเหล็กคาร์บอนสูงสำหรับคอนกรีตอัดแรงชนิดตีเกลียว (PC Strand)
เชือกลวดเหล็ก (Wire Rope)

5.เหล็กลวดสำหรับนำไปผลิตลวดเหล็กเสริมยางรถยนต์

เครื่องดัดปลอกอัตโนมัติ รุ่น SM-80AB เครื่องดัดปลอกทำปลอกอัตโนมัติด้วยความเร็ว สามารถดัดเหล็ก-ตัดเหล็กด้วยการออกแบบเครื่องที่เฉพาะตัวทำให้เครื่องสามารถทำงานได้แม่นยำและรวดเร็วดัดเหล็กปลอกโดยไม่ต้องใช้คนมาทำงานเครื่อง

เครื่องดัดเหล็กปลอกเสาอัตโนมัติ เป็นที่สามารถดัดเหล็กปลอกอัตโนมัติได้อย่างรวดเร็ว และมาตราฐานเป็นการดัดปลอกสำเร็จรูป เหล็กเสาเอ็นทับสำเร็จรูป เหล็กปลอกคานสำเร็จรูป เหล็กปลอกสำเร็จรูป ดัดเหล็กปลอกเสา ปลอกคานได้อย่างสบาย โดยใช้กับลวดไวร์รอต

ทำงานอัตโนมัติด้วยความเร็ว สามารถดัดเหล็ก-ตัดเหล็กกว่างยาวได้ถึง 10-90มิล ด้วยการออกแบบเครื่องที่เฉพาะตัวทำให้เครื่องสามารถทำงานได้แม่นยำและรวดเร็ว รุ่นนี้สามารถดัดได้ทั้งแบบวงกลม แบบเหลี่ยม แบบตัวเจ แบบเส้นตรง แบบสามเหลี่ยม แบบยู แบบฉาก งานถูกออกแบบให้สามารถใช้ได้หลายรูปแบบของชิ้นง่าย เครื่องสามาถดัดเหล็กเป้นทางวงกลม ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทรงสี่เหลี่ยมจัตุจัต ทรงสามเหลี่ยม

ข้อดี
1.ชิ้นงานสวย มีมาตราฐานเท่ากันทุกตัว
2.หัวชิดกว่าเดิม
3.ประหยัดแรงงานคน เครื่องสามารถทำงานอัตโนมัติได้
4.สามารถไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นได้ เนื่องจากเครื่องสามารถทำลายได้หลากกลายรูปทรง

ชื่อรุ่นSM-80AB
ความสามารถในการดัด-ตัดเหล็กปลอก5-10มิล
กำลังในการผลิต100*100 ซม. 8ตัวต่อนาที
มอเตอร์5.5 แรง
ความเร็วในการดัด-ตัด2-3 วินาที เร็วกว่ารุ่นSM-80A (40%)
ใช้ไฟ220 โวลต์ / 380 โวลต์
ขนาดกว้าง 60 ซม * สูง 80 ซม* ยาว 100 ซม
น้ำหนัก370 โล
ถังน้ำมันจุ60 ลิตร * ชุดวาวล์ควบคุมของCROSS

ชุดลูกรีดให้เหล็ก sCM 440 ชุปไฟฟ้าทั้งหมด
ใบตัดเหล็ก SKD 11 ชุบแข็งไฟฟ้า
กำลังในการผลิต 100*100 มม. 8  ตัว / นาที
พร้อมคอยส์ริงลวด

ขอบคุณข้อมูลจากhttps://www.thaimetallic.com/2021/06/02/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%97-wire-rod/

ประเภทของสายไฟ

ไฟฟ้าเป็นเรื่องใกล้ตัว ทุกบ้านย่อมต้องใช้ไฟฟ้า แต่อย่างไรก็ตามถ้าเลือกใช้สายไฟผิดประเภทก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ เรามาดูวิธีการเลือกใช้สายไฟให้เหมาะสมกับประเภทของงาน เพื่อความปลอดภัยของคนภายในบ้านกันค่ะ

ประเภทของสายไฟ

สายไฟจะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ สายสำหรับไฟแรงดันต่ำและสำหรับไฟแรงดันสูง ซึ่งสายไฟที่ใช้ตามอาคารบ้านเรือนจัดอยู่ในประเภทสายไฟแรงดันต่ำ สำหรับในประเทศไทยนั้น สายไฟแรงดันต่ำจะต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก.11-2531 หรือ TIS-11-2531 ตามมาตรฐานแล้วสายไฟแรงดันต่ำจะต้องมีหลายขนาด (พื้นที่หน้าตัด) ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ซึ่งจะต้องทนแรงดันไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 300 โวลต์ ถึง 750 โวลต์ มีลักษณะเป็นสายหุ้มฉนวน ทำด้วยทองแดงหรืออลูมิเนียม โดยทั่วไปแล้วจะเป็นสายทองแดงขนาดเล็กจะเป็นตัวนำตัวเดียว แต่สายขนาดใหญ่เป็นตัวนำตีเกลียว วัสดุฉนวนที่ใช้กับสายแรงดันต่ำ คือ Polyvinyl Chloride (PVC) และ Cross -Linked Polyethylene (XLPE) ได้แก่ สาย THW,VAF, VAF-GRD,NYY,NYY-GRD,0.6/1KV-CV,VCT,VCT-GRD,VSF,AV,VFF,VKF
สายไฟตามมาตรฐาน มอก.11-2531 จะแบ่งเป็นประเภทตามขนาด ความทนแรงดันไฟและการใช้งานได้ ดังนี้

สายไฟฟ้าแรงดันต่ำ (Low Voltage Power Cable)

1. สายไอวี (IV)

สายชนิดนี้เป็นสายเดียวหรือแกนเดี่ยวชนิดทนแรงดันไฟ 300 โวลต์ ใช้เป็นสายเดินเข้าอาคารสำหรับที่พักอาศัยที่ใช้ระบบ 1 เฟสและห้ามใช้กับระบบ 3 เฟสที่มีแรงดัน380 โวลต์ การใช้งาน ถ้าเดินสายลอยต้องยึดด้วยวัสดุฉนวน หรือเดินในช่องเดินสายสายในสถานที่แห้ง แต่ห้ามท่อฝังดินหรือฝังดินโดยตรง

2. สายวีเอเอฟ (VAF)

เป็นสายไฟที่นิยมใช้กันมากตามบ้านในประเทศไทย เป็นสายชนิด ทนแรงดัน 300 โวลต์ มีทั้งชนิดที่เป็นสายเดี่ยว สายคู่ และที่มีสายดินอยู่ด้วย มีชนิด 2 แกน หรือ 3 แกน เป็นสายแบน ตัวนำนอกจากจะมีฉนวนหุ้ม แล้วยังมีเปลือกหุ้มอีกชั้นหนึ่ง สายคู่จะนิยมรัดด้วยเข็มขัดรัดสาย (Clip) การจะเดินสายประเภทนี้ใต้ดินจะต้องเดินในท่อฝังดินที่มีการป้องกันน้ำซึมเข้าท่อ ใช้ในบ้านอยู่อาศัยทั่วไป สายชนิดนี้ห้ามใช้ในวงจร 3 เฟสที่มีแรงดัน 380 โวลต์ (ในระบบ 3 เฟสแต่แยกไปใช้งานเป็นแบบ 1 เฟส แรงดัน 220 โวลต์ จะใช้ได้)
การใช้งาน เดินเกาะผนัง เดินในช่องเดินสายในสถานที่แห้ง และห้ามเดินฝังดินโดยตรง

3. สายทีเอชดับเบิลยู (THW)

เป็นสายไฟฟ้า ชนิดทนแรงดัน 750 โวลต์เป็นสายเดี่ยวนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากใช้ในวงจรไฟฟ้า 3 เฟสปกติ แกนของสายประเภทนี้มีตัวนำทองแดงจะมีหลายสายร้อยเป็นสายใหญ่หนึ่งแกน การใช้งานคือใช้เดินลอยด้วยตัวยึดทำจากวัสดุฉนวน เดินในช่องเดินสาย หรือเดินในท่อฝังดินที่มีการป้องกันน้ำซึมเข้าสู่ท่อ แต่ห้ามฝังดินโดยตรง

4. สายเอ็นวายวาย (NYY)

มีทั้งชนิดแกนเดียวและหลายแกน สายหลายแกนก็จะเป็นสายชนิดกลมเช่นกัน สายชนิดนี้ทนแรงดันที่ 750 โวลต์ นิยมใช้อย่างกว้างขวาง
เนื่องจากว่ามีความทนต่อสภาพแวดล้อม เพราะมีเปลือกหุ้มอีกชั้นหนึ่ง บางทีเรียกว่าเป็นสายฉนวน 3 ชั้น ความจริงแล้วสายชนิดนี้มีฉนวนชั้นเดียว อีกสองชั้นที่เหลือเป็นเปลือกเปลือกชั้นในทำหน้าที่เป็นแบบ (Form) ให้สายแต่ละแกนที่ตีเกลียวเข้าด้วยกันมีลักษณะกลม แล้วจึงมีเปลือกนอกหุ้ม อีกชั้นหนึ่งทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายทางกายภาพการใช้งานใช้งานทั่วไป เดินร้อยท่อฝังดินและเดินฝังโดยตรง

5. สายวีซีที (VCT)

เป็นสายกลมมีทั้ง 1 แกน 2 แกน 3 แกนและ 4 แกนสามารถทนแรงดัน 750 โวลต์มีฉนวนและเปลือกเช่นกันกับสายเอ็นวายวาย มีข้อพิเศษกว่าก็คือตัวนำประกอบด้วยทองแดงฝอยเส้นเล็กๆร้อยรวมกันเป็นหนึ่งแกนทำให้มีข้อดีคืออ่อนตัวและทนต่อสภาพการสั่นสะเทือนได้ดี เหมาะที่จะใช้เป็นสายเดินเข้าเครื่องจักรที่มีการสั่นสะเทือนขณะใช้งานสายชนิดนี้ใช้งานได้ทั่วไปเหมือนสายชนิดเอ็นวายวาย นอกจากนี้ยังมีสายวีซีทีเป็นชนิดวีซีที-กราวด์ (VCT-G) ซึ่งมี 2 แกน 3 แกนและ 4 แกน และมีสายดินเดินรวมไปด้วยอีกเส้นหนึ่งเพื่อให้เหมาะสำหรับใช้กับเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องต่อลงดิน สายวิซีทีสามารถเดินแบบฝังดินโดยตรงได้
สายไฟฟ้ามีหลากหลายชนิด ทั้งชนิดที่เป็นตัวนำทองแดง และตัวนำอะลูมิเนียมแต่ละชนิดยังแบ่งได้เป็นหลายประเภท ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งาน ยกตัวอย่างสายตัวนำทองแดงหุ้มด้วยฉนวนและเปลือกพีวีซีและมีลักษณะสายที่แข็งโค้งงอได้ยาก ได้แก่สาย THW VAF VAF-GRD NYY-GRD 0.6/1KV-CV สายตัวนำทองแดงที่มีลักษณะนิ่มโค้งงอได้ง่าย ได้แก่สาย THW-A THWA-C NAY SAC25-35KV ในแต่ละประเภทยังแบ่งเป็นขนาดต่างๆ ซึ่งควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน ดังนั้นในการพิจารณาเลือกสายไฟฟ้าที่เหมาะสมนั้น มีหลายข้อด้วยกันที่ต้องพิจารณา ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพ ความเชื่อถือได้ และความปลอดภัยในการใช้งาน ข้อกำหนดที่ต้องพิจารณาในการเลือกสายไฟฟ้า ได้แก่ พิกัดแรงดัน (Voltage Rating),พิกัดกระแส (Current Rating),แรงดันตก (Voltage Drop), สายควบ(Multiple Conductors)

สายไฟฟ้าแรงดันสูง (High Voltage Power Cable)

เป็นสายตีเกลียวมีขนาดใหญ่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ สายเปลือย และสายหุ้มฉนวน

1. สายเปลือย

สายอลูมิเนียมตีเกลียวเปลือย (AAC)
สายอลูมิเนียมผสม (AAAC)
สายอลูมิเนียมแกนเหล็ก (ACSR)

2. สายหุ้มฉนวน

สาย Partial Insulated Cable (PIC)
สาย Space Aerial Cable (SAC)
สาย Preassembly Aerial Cable
สาย Cross-linked Polyethylene (XLPE)

ที่มา www.thai-electricworks.com , http://www.telepart.net

สนใจเลือกซื้อสายไฟที่ดี ปลอดภัย วางใจ สามารถเลือกซื้อได้ตามลิงก์ด้านล่างเลยนะจ๊ะ

กลุ่มงานไฟฟ้าและอุปกรณ์

สายไฟTHW 2.5sq.mm ยี่ห้อ Phelp Dodge

กลุ่มงานไฟฟ้าและอุปกรณ์

Phelps Dodge สายไฟ 60227 IEC 10 With Ground

Phelps Dodge สายไฟ THW - 60227 IEC 01

กลุ่มงานไฟฟ้าและอุปกรณ์

Phelps Dodge สายไฟ VCT – G

สายไฟ THW - 60227 IEC 01

สายไฟฟ้า สายโทรฯ สายสัญญาณ

Phelps Dodge สายไฟ THW – 60227 IEC 01
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.builk.com/yello

สายไฟมีกี่ประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร ?

สายไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ส่งพลังงานไฟฟ้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยกระแสไฟฟ้าจะเป็นตัวนำพลังงานไฟฟ้าผ่านไปตามสายไฟจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า สายไฟทำด้วยสารที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ เรียกว่าตัวนำไฟฟ้า และตัวนำไฟฟ้าที่ใช้ทำสายไฟเป็นโลหะที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ดี ลวดตัวนำแต่ละชนิดยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ต่างกัน ตัวนำไฟฟ้าที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้มากเรียกว่ามีความนำไฟฟ้ามากหรือมีความต้านทานไฟฟ้าน้อย ลวดตัวนำจะมีความต้านทานไฟฟ้าอยู่ด้วย โดยลวดตัวนำที่มีความต้านทานไฟฟ้ามากจะยอม ให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้น้อย

ซึ่งสายไฟแต่ละชนิดจะได้รับการออกแบบแตกต่างกันออกไปตามโครงสร้างและคุณสมบัติการใช้งาน เช่น

  • สายที่ประกอบไปด้วยตัวนำไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว
  • สายที่ประกอบด้วยฉนวนหุ้มตัวนำไฟฟ้า
  • สายที่ประกอบด้วยเปลือกหุ้มหรือชั้นป้องกันเสริมเป็นส่วนประกอบอยู่ภายใน

ส่วนประกอบของสายไฟ

1. ตัวนำไฟฟ้า (Conductor)

ทำหน้าที่ส่งผ่านกระแสไฟฟ้าหรือสัญญาณไฟฟ้า ทำจากโลหะที่มีค่าความต้านทานไฟฟ้าต่ำและมีค่าความนำไฟฟ้าสูง ซึ่งโลหะที่นิยมใช้ทำเป็นตัวนำไฟฟ้าได้แก่ ทองแดง และอลูมิเนียม

2. ฉนวน (Insulation)

ฉนวน ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปยังส่วนอื่นๆ ที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายได้ เช่นไฟรั่ว หรือไฟฟ้าลัดวงจร ดังนั้น วัสดุที่ใช้ทำฉนวนส่วนใหญ่จึงมักจะผลิตจากพลาสติกโพลีเมอร์หรือยาง ซึ่งมีคุณสมบัติทนความร้อน และป้องกันของเหลวไหลผ่าน ช่วยป้องกันไม่ให้ไฟฟ้าไหลผ่านได้

3. เปลือกนอก (Sheath)

เปลือกนอก (Over Sheath) คือ พลาสติกโพลิเมอร์ที่อยู่ชั้นนอกสุดของสายไฟฟ้า ทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายให้กับสายไฟฟ้าจากสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น การขูดขีด แรงกระแทกกดทับ สภาพอากาศ และการกัดกร่อนจากสภาพแวดล้อมต่างๆ

ประเภทของสายไฟ

1. สายไฟฟ้าแรงดันต่ำ (Low Voltage Power Cable)

เป็นสายไฟที่ใช้กับแรงดันไม่เกิน 750 โวลต์ เป็นสายหุ้มฉนวน ทำด้วยทองแดงหรืออะลูมิเนียม โดยทั่วไปเป็นสายทองแดงสายขนาดเล็กจะเป็นตัวนำเดี่ยว แต่สายขนาดใหญ่เป็นตัวนำตีเกลียว วัสดุฉนวนที่ใช้กับสายแรงดันต่ำคือ Polyvinyl Chloride (PVC) และ Cross-Linked Polyethylene (XLPE)

สายไฟมีกี่ประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร ? ภาพประกอบ

สายไฟ THW

สายไฟฟ้าตาม มอก.11-2531 ที่ในท้องตลาดนิยมเรียกว่า ทีเอชดับเบิลยู (THW) เป็นสาย ไฟฟ้าชนิดทนแรงดัน 750 โวลต์ เป็นสายเดี่ยว นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะใน โรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากใช้ในวงจรไฟฟ้า 3 phase ได้ ปกติจะเดินร้อยในท่อร้อยสาย ชื่อ THW เป็นชื่อตามมาตรฐานอเมริกัน ซึ่งเป็นสายชนิดทนแรงดัน 600 โวลต์ อุณหภูมิใช้งานที่ 75 องศาเซลเซียส แต่ในประเทศไทยนิยม เรียกสายที่ผลิตตาม มอก. 11 -2531 ว่า สาย THW เนื่องจากมีโครงสร้างคล้ายกันและรู้กันทั่วไปในท้องตลาด

ลักษณะ : ทองแดงเส้นเดียวและตีเกลียว

แรงดัน : 450/750 โวลต์

ขนาด : 1.5-400 sq.mm.

อุณหภูมิโดยรอบ : 70-75°C

การใช้งาน

เดินในท่อร้อยสาย ร้อยท่อเดินใต้ฝ้าและในผนัง แต่ไม่ควรฝังดิน

สายไฟ VAF

สายไฟตาม มอก.11-2531 ที่ตามท้องตลาดเรียกว่า สายชนิดวีเอเอฟ (VAF) เป็นสายที่นิยมใช้กันมากตามบ้านพักอาศัยในประเทศไทย เป็นสายชนิดทนแรงดัน 300 โวลต์ มีแบบสายคู่ และที่มีสายดินอยู่ด้วย มีชนิด 2 แกน หรือ 3 แกน เป็นสายแบน ตัวนำนอกจากจะมีฉนวนหุ้มแล้ว ยังมีเปลือกหุ้มอีกชั้นหนึ่ง สายคู่จะนิยมรัดด้วยเข็มขัดรัดสาย ใช้ในบ้านอยู่อาศัยทั่วไป สายชนิดนี้ห้ามใช้ในวงจร 3 phase ที่มีแรงดัน 380 โวลต์ (ในระบบ 3 phase แต่แยกไปใช้งานเป็นแบบ 1 phase แรงดัน 220 โวลต์ จะใช้ได้)

ลักษณะแกน : ทองแดงเส้นเดี่ยวและตีเกลียว

แรงดัน : ทนแรงดัน 300 โวลต์

อุณหภูมิโดยรอบ : 70°C

ขนาด : 1-16 sq.mm.

การใช้งาน : เดินสายแบบเกาะผนัง เดินในช่องเดินสายในสถานที่แห้ง และห้ามเดินฝังดินโดยตรง

สายไฟมีกี่ประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร ? ภาพประกอบ

สายไฟ VCT/VCT-G

ฉนวนและเปลือกทำจาก PVC ตัวนำทำจากทองแดงฝอยเส้นเล็กๆมัดรวมกันเป็นแกน มีทั้งแบบ 1 แกน 2 แกน 3 แกน และ 4 แกน ข้อดีของตัวนำทองแดงที่เป็นเส้นฝอยคือมีความอ่อนตัวและทนต่อสภาพการสั่นสะเทือนได้ดี นอกจากนี้ยังมีสาย VCT-G เป็นสาย VCT ที่มีสายดินเดินรวมไปด้วยอีกเส้นหนึ่ง เพื่อให้เหมาะกับการใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องต่อลงดิน การใช้งานเดินบนรางเคเบิล ร้อยท่อฝังดิน หรือฝังดินโดยตรงก็ได้

ลักษณะแกน : ทองแดงเส้นฝอย

แรงดัน : ทนแรงดัน 450/750 โวลต์

อุณหภูมิโดยรอบ : 70°C

ขนาด : 4-35 sq.mm.

การใช้งาน : ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องเคลื่อนย้าย ฝังดินโดยตรง ร้อยท่อในคอนกรีต บนฉนวนลูกถ้วย

สายไฟ NYY/NYY-G

สายไฟฟ้าตาม มอก.11-2531 ตามท้องตลาดนิยมเรียกว่าสายชนิด เอ็นวายวาย (NYY) มีทั้งชนิดแกนเดียว และหลายแกนสายหลายแกน ก็จะเป็นสายชนิดกลมเช่นกัน สายชนิดนี้ทนแรงดันที่ 750 โวลต์ นิยมใช้อย่างกว้างขวางเช่นกัน เนื่องจากว่ามี ความทนต่อสภาพแวดล้อม เพราะมีเปลือกหุ้มอีกชั้นหนึ่ง บางทีเรียกว่าเป็นสายฉนวน 3 ชั้น ความจริงแล้วสายชนิดนี้มีฉนวนชั้นเดียว อีกสองชั้นที่เหลือเป็นเปลือกเปลือกชั้นในทำหน้าที่เป็นแบบ (Form) ให้สายแต่ละแกนที่ตีเกลียวเข้าด้วยกันมีลักษณะกลม แล้วจึงมีเปลือกนอกหุ้ม อีกชั้นหนึ่งทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายทางกายภาพ

ลักษณะแกน : ทองแดงเส้นเดี่ยวและตีเกลียว

แรงดัน : ทนแรงดัน 450/750 โวลต์

อุณหภูมิโดยรอบ : 70°C

ขนาด : แกนเดี่ยว 1-500 sq.mm. / หลายแกน 50-300 sq.mm.

การใช้งาน : เหมาะสำหรับฝังดินโดยตรงหรือร้อยท่อ นิยมใช้ภายนอกอาคาร เดินบนราง

สายไฟมีกี่ประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร ? ภาพประกอบ

THW-f (flexible)

สายไฟฟ้า IEC02 หรือ THW -f เป็นสายอ่อนชนิดกลมแกนเดียว มีขนาดตั้งแต่ 1.5 SQ.MM. ถึง 400 SQ.MM. ฉนวนของสายไฟทำจาก PVC  ทนแรงดันไฟฟ้าได้ไม่เกิน 450/750V ทื่อุณหภูมิ ไม่เกิน 70 องศาเซลเซียส เหมาะสำหรับเป็นสายเดินภายในอุปกรณ์ไฟฟ้า

ลักษณะแกน : ทองแดงเส้นฝอย

แรงดัน : ทนแรงดัน 750 โวลต์

อุณหภูมิโดยรอบ : 70°C

ขนาด : แกนเดี่ยว 1.5-240 sq.mm.

การใช้งาน : เดินในตู้ควบคุม ร้อยท่อเดินใต้ฝ้าและในผนัง เดินสายไฟฟ้าภายในต่อเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ชนิดหยิบยกได้ หรือต่อเข้าดวงโคม

สายไฟ IEC10

สายไฟฟ้าตาม มอก.11-2553 ตามท้องตลาดนิยมเรียกว่าสายชนิด ไออีซี10 ( IEC10 ) มีตั้งแต่ 2 แกนถึง 4 แกน ขนาดตั้งแต่ 1.5 – 35 SQ.MM. เป็นสายชนิดกลม สายชนิดนี้ทนแรงดันที่ 300/500 V. เป็นสายฉนวน 3 ชั้น ความจริงแล้วสายชนิดนี้มีฉนวนชั้นเดียว อีกสองชั้นที่เหลือเป็นเปลือกเปลือกชั้นในทำหน้าที่เป็นแบบ (Form) ให้สายแต่ละแกนที่ตีเกลียวเข้าด้วยกันมีลักษณะกลม แล้วจึงมีเปลือกนอกหุ้ม อีกชั้นหนึ่งทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายทางกายภาพ สายชนิดนี้ลักษณะทางกายภาพคล้าย ๆ กับสาย NYY แต่ต่างกันที่แรงดันไฟฟ้า ซึ่ง NYY มีแรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ 450/750 V. ด้วยแรงดันที่ต่างกันนี้ทำให้สาย IEC10 มีเปลือกที่บางกว่า ทำให้ข้อกำหนดตามมาตรฐาน มอก.11-2553 ข้อควรระวังคือห้ามฝังดินโดยตรงหรือร้อยท่อฝังดิน 

ลักษณะแกน : ทองแดงเส้นเดี่ยวและตีเกลียว

แรงดัน : ทนแรงดัน 300/500 โวลต์

อุณหภูมิโดยรอบ : 70°C

ขนาด : แกนเดี่ยว 1.5-35 sq.mm.

การใช้งาน : เดินในบ้าน บนรางไวร์เวย์ ร้อยท่อเดินใต้ฝ้าและผนัง

2. สายไฟฟ้าแรงดันสูง (High Voltage Power Cable)

รับแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 36kV ถึง 170kV ตัวนำทองแดง มีโครงสร้างหลายแบบขึ้นอยู่กับลักษณะการนำไปใช้งาน สายตีเกลียวมีขนาดใหญ่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ สายเปลือย และสายหุ้มฉนวน

สายเปลือย

  • สายอะลูมิเนียมตีเกลียวเปลือย (AAC).
  • สายอะลูมิเนียมผสม (AAAC)
  • สายอะลูมิเนียมแกนเหล็ก (ACSR)

สายหุ้มฉนวน

  • สาย Partial Insulated Cable (PIC)
  • สาย Space Aerial Cable (SAC)
  • สาย Preassembly Aerial Cable
  • สาย Cross-linked Polyethylene (XLPE)

    ขอบคุณข้อมูลจากWazzadu

สายไฟ คืออะไร

สายไฟ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบไฟฟ้า ทำหน้าที่ส่งผ่านพลังานหรือสัญญาไฟฟ้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยเฉพาะระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าจากแหล่งผลิตไฟฟ้าไปยังงผู้ใช้งานไฟฟ้าทั่วประเทศผ่านระบบสายส่งและระบบจำหน่ายไฟฟ้า ทั้งในระบบแรงดันสูง แรงดันปานกลาง และแรงดันต่ำนอกจากนี้สายไฟฟ้ายังใช้ในระบบสื่อสารและโทรคมนนาคม และ ระบบควบคุมในภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย ทั้งนี้สายไฟฟ้า คือ วัสดุที่ประกอบไปด้วยธาตุโลหะที่มีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดี เนื่องจากเนื้อโลหะที่มีความแข็งและเหนียว โดยเฉพาะทองแดงที่สามารถนำมาแปรรูปได้ตามต้องการ จึงได้รับความนิยมในวงการของอุตสาหกรรมซึ่งสายไฟแต่ละชนิดจะได้รับการออกแบบแตกต่างกันออกไปตามโครงสร้างและคุณสมบัติการใช้งาน เช่น

  1. สายที่ประกอบไปด้วยตัวนำไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว
  2. สายที่ประกอบด้วยฉนวนหุ้มตัวนำไฟฟ้า
  3. สายที่ประกอบด้วยเปลือกหุ้มหรือชั้นป้องกันเสริมเป็นส่วนประกอบอยู่ภายใน
สายไฟ
สายไฟ หุ้มฉนวนตัวนำไฟฟ้า

สายไฟแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. สายไฟฟ้าแรงดันต่ำ (Low Voltage Power cable)

ลักษณะของสายไฟ รับแรงดันไฟฟ้าได้ไม่เกิน 6kV ส่วนใหญ่จะมีฉนวนเป็น Cross-linked polyethylene (XLPE) ซึ่งมีความแข็งแรง ทนทานกว่าฉนวน PVC และยังทนความร้อนได้สูงถึง 90 ํC บางชนิดอาจมีการเสริมโครงสร้างโลหะเพื่อรับแรงกระแทกที่จะเกิดขึ้นจากการติดตั้งได้มากขึ้น เช่น สาย CV, CV-AWA, CV-SWA เป็นต้น

  1. 6/1 kV XLPE/PVC (สาย CV) รับแรงดันได้ 600/1000V ฉนวนทำจาก Cross-linked polyethylene (XLPE) เปลือกนอกเป็น PVC ตัวนำเป็นทองแดง มีตั้งแต่ชนิดตัวนำแกนเดี่ยว จนถึง ตัวนำสี่แกน การใช้งานสามารถฝังดินโดยตรง ร้อยท่อฝังดิน ร้อยท่อฝังผนังคอนกรีต ร้อยท่อเดินใต้ฝ้าอาคาร เดินเกาะผนัง เดินบนฉนวนลูกถ้วย และ เดินในช่องเดินสายชนิด wire-way ที่ปิดมิดชิด
  2. 6/1 kV XLPE/PVC/AWA (สาย CV-AWA) และ 6/1 kV XLPE/PVC/SWA (สาย CV-SWA) รับแรงดันได้ 600/1000V ฉนวนเปลือก ตัวนำและการใช้งานเหมือนสาย CV แต่มีการเสริมโครงสร้างลวดอะลูมิเนียมและลวดเหล็กตามลำดับ เรียกโครงสร้างชั้นนี้ว่า Metallic Shield โดย Metallic Shield นี้จะช่วยสลายประจุไฟฟ้าที่เกิดขึ้นบนผิวฉนวนไม่ให้แพร่ไปยังโครงสร้างชั้นอื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้งาน

2.สายไฟฟ้าแรงดันสูง (High Voltage Power Cable)

รับแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 36kV ถึง 170kV ตัวนำทองแดง มีโครงสร้างหลายแบบขึ้นอยู่กับลักษณะการนำไปใช้งาน เช่น

  1. 69 kV Cu/XLPE/CWS/LAT/PE สายไฟแรงดันสูงที่รับแรงดันได้สูงสุด 69kV ตัวนำทองแดง ฉนวน XLPE เสริมโครงสร้าง Copper wire shield เพื่อสลายประจุไฟฟ้าที่เกิดขึ้นบนผิวฉนวนไม่ให้แผ่ไปยังโครงสร้างชั้นอื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้งาน และ Laminated Aluminium tape เพื่อป้องกันการซึมของน้ำ เปลือกเป็น PE ซึ่งทำเป็นลักษณะของ Ribbed Oversheath ซึ่งช่วยลดแรงเสียดทานในขณะทำการลากสาย
  2. 36/69(72.5) kV Cu/XLPE/LS/PE สายไฟที่รับแรงดันได้สูงสุด 5 kV ตัวนำทองแดง ฉนวน XLPE เสริมโครงสร้าง Lead Sheath ที่ช่วยป้องกันการซึมของน้ำ ทนต่อการกัดกร่อนของไอน้ำมันและสารเคมีได้ดี(นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี) เปลือกทำจาก PE
  3. 127/230(245) kV Cu/XLPE/CCS/PE สายไฟที่รับแรงดันได้สูงสุด 245 kV ตัวนำทองแดง ฉนวน XLPE เสริมโครงสร้าง Corrugated copper sheath ที่ช่วยป้องกันการซึมของน้ำและช่วยรับแรงกระแทก ความพิเศษของ Corrugated sheath คือ มีความยิดหยุ่น ทำให้สามารถดัดโค้งสายไฟได้ง่ายขึ้น เปลือกทำจาก PE
ประเภทของสายไฟ
สายไฟฟ้าแรงดันสูง

วิธีเลือกใช้สายไฟให้เหมาะสมกับประเภทของงาน

สายไฟสำหรับติดตั้งภายในบ้าน หรือ อาคาร

การเลือกสายไฟสำหรับ บ้านพักอาศัย หรือ อาคารขนาดเล็ก สิ่งสำคัญที่สุดคือ เรื่องความปลอดภัยและคุณภาพของการผลิตที่ได้มาตรฐาน มอก. และ มาตรฐานระดับสากล IEC  เพราะสายไฟในกลุ่มประเภท Household รวมไปถึงสายโทรศัพท์ เป็นสายไฟที่ใกล้ตัวผู้อยู่อาศัยมากที่สุด และอยู่รอบตัวของผู้ใช้ตลอดเวลา ดังนั้นควรเลือกใช้สายไฟฟ้าที่ผลิตได้ถูกต้องตรงมาตรฐานกำหนด คุณภาพสูง และ มีความปลอดภัยสูงสุด เพื่อให้ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน นอกจากนั้นควรพิจารณาถึงวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตด้วย ซึ่งได้แก่

  1. ตัวนำทองแดง มีค่าความนำไฟฟ้าที่ดีเยี่ยม โดย Phelps dodge เลือกใช้ทองแดงบริสุทธิ์ 99% ซึ่งเป็นเกรดที่ดีที่สุด
  2. ฉนวนและเปลือกสายไฟต้องเลือกใช้ PVC เกรดพิเศษที่สามารถทนอุณหภูมิความร้อนได้ตรงตามมาตรฐานกำหนด เพื่อให้กระแสไฟฟ้าไม่รั่วไหลมาทำอันตรายแก่ผู้ใช้งาน และสายไฟมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน สำหรับสายไฟในกลุ่ม Household จะมีแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 300V-750V ได้แก่ สาย 60227 IEC01 (THW),VCT,VAF,NYY
สายไฟสำหรับติดตั้งภายในบ้าน หรือ อาคาร
การผลิตสายไฟใช้ในบ้าน หรือ ในอาคาร

สายไฟฟ้าสำหรับระบบสาธารณูปโภค

สายไฟฟ้าในระบบสาธารณูปโภค เป็นระบบที่สำคัญในการเชื่อมโยง ระบบไฟฟ้าแรงสูงจากโรงผลิตไฟฟ้า เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่แห่งพลังงานไฟฟ้า ที่เชื่อมต่อให้ประชาชนทั่วประเทศ ดังนั้นสายไฟฟ้าและสายเคเบิ้ลที่ใช้งานเพื่อเป็นสายส่งนั้น ต้องมีความปลอดภัยสูงสุด มีสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา ดังนั้นควรเลือกใช้สายไฟฟ้าที่ผลิตได้ถูกต้องตรงมาตรฐานกำหนด คุณภาพสูง และ มีความปลอดภัยสูงสุด เพื่อให้ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน นอกจากนั้นควรพิจารณาถึงวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตด้วย ซึ่งได้แก่

  1. ตัวนำทองแดง มีค่าความนำไฟฟ้าที่ดีเยี่ยม โดย Phelps dodge เลือกใช้ทองแดงบริสุทธิ์ 99% ซึ่งเป็นเกรดที่ดีที่สุด
  2. ฉนวนของสายไฟเป็นฉนวน Cross-linked polyethylene(XLPE) ทึ่ต้องมีความทนทาน และทนความร้อนได้สูงถึง 90 องศาเซลเซียส

สายไฟที่่ใช้ในงานสาธารณูปโภค โรงไฟฟ้า สถานีไฟฟ้า การไฟฟ้า การส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าบนดินและใต้ดิน นั้นจะประกอบไปด้วยสายไฟฟ้าแรงดันปานกลาง สายไฟฟ้าแรงดันสูง และสายไฟฟ้าแรงดันสูงพิเศษ รวมไปถึงสายไฟฟ้าที่ต้องการคุณสมบัติพิเศษเพื่อป้องกันน้ำ ป้องกันไอระเหยหรือการกัดกร่อนจากสารเคมี และอาจมีการเสริมโครงสร้างโลหะเพื่อรับแรงกระแทกที่อาจเกิดขึ้นจากการติดตั้ง  โดยเป็นสายไฟฟ้าแรงดันสูงตั้งแต่ 36kV – 170kV  และ สายไฟแรงดันสูงพิเศษ  230 kV ขึ้นไป

สายไฟฟ้าแรงดันสูง SAC-TH
สายไฟฟ้าแรงดันสูง MXLP-CTS-TH
สายไฟฟ้าแรงดันสูง HXLP-CWS-LAT-TH

สายไฟที่ใช้ในงานอาคารสูง อาคารสาธารณะ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ

การติดตั้งสายไฟภายในอาคารสูง โรงงาน หรือ อาคารสาธารณะ ต้องเริ่มจากการออกแบบให้เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับและต้องเลือกใช้สายไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานกำหนด เพราะความปลอดภัยของผู้ใช้งานเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
ดังนั้นควรเลือกใช้สายไฟฟ้าที่ผลิตได้ถูกต้องตรงมาตรฐาน คุณภาพสูง และ มีความปลอดภัยสูงสุด เพื่อให้ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน นอกจากนั้นควรพิจารณาถึงวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตด้วย ซึ่งได้แก่

  1. ตัวนำทองแดง มีค่าความนำไฟฟ้าที่ดีเยี่ยม โดย Phelps dodge เลือกใช้ทองแดงบริสุทธิ์ 99% ซึ่งเป็นเกรดที่ดีที่สุด
  2. ฉนวนของสายไฟเป็นฉนวน Cross-linked polyethylene(XLPE) ทึ่ต้องมีความทนทาน และทนความร้อนได้สูงถึง 90 องศาเซลเซียส
  3. สายไฟบางชนิดควรมีโครงสร้างโลหะเพื่อสามารถรับแรงกระแทกที่เกิดจากติดตั้ง

สำหรับสายไฟในกลุ่ม Building and Construction จะเป็นสายไฟชนิด Low Voltage โดยมีแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 1,000V เช่นสาย CV,CV-AWA,CV-SWA เป็นต้น

สายไฟชนิด Low Voltage

สายไฟที่ใช้ในอุตสาหกรรมทั่วไป ตลอดจนอุตสาหกรรมปิโตรเคมี วัสดุพอลิเมอร์ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ

การออกแบบและติดตั้งสายไฟฟ้าในระบบอุตสาหกรรมทั่วไป ตลอดจนอุตสาหกรรมปิโตรเคมี วัสดุพอลิเมอร์ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ต้องคำนึงถึงประเภทของสายไฟชนิดพิเศษที่มีความเหมาะสมต่อระบบอุตสาหกรรม เครื่องจักรที่ใช้งาน ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบป้องกันไฟไหม้

เพื่อให้กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมเป็นไปได้อย่างถูกต้อง สะดวก และ ปลอดภัยสูงสุด ดังนั้นควรเลือกใช้สายไฟฟ้าที่ผลิตได้ถูกต้องตรงมาตรฐานกำหนด คุณภาพสูง และ มีความปลอดภัยสูงสุด เพื่อให้ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน นอกจากนั้นควรพิจารณาถึงวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตด้วย ซึ่งได้แก่

  1. ตัวนำทองแดง มีค่าความนำไฟฟ้าที่ดีเยี่ยม โดย Phelps dodge เลือกใช้ทองแดงบริสุทธิ์ 99% ซึ่งเป็นเกรดที่ดีที่สุด
  2. ฉนวนของสายไฟเป็นฉนวน Cross-linked polyethylene(XLPE) ทึ่ต้องมีความทนทาน และทนความร้อนได้สูงถึง 90 องศาเซลเซียส

สายไฟในกลุ่ม Industrial,Oil&Gas and Petrochemical ประกอบไปด้วยสายไฟฟ้าแรงดันต่ำ สายไฟฟ้าแรงดันปานกลาง และสายไฟฟ้าแรงดันต่ำที่มีคุณสมบัติพิเศษชนิดทนไฟ ไม่ลามไฟ มีควันน้อย และไม่มีก๊าซพิษ รวมไปถึงสายไฟฟ้าที่ต้องการคุณสมบัติพิเศษเพื่อป้องกันน้ำ ป้องกันไอระเหยหรือการกัดกร่อนจากสารเคมี และอาจมีการเสริมโครงสร้างโลหะเพื่อรับแรงกระแทกที่อาจเกิดขึ้นจากการติดตั้ง

สายไฟฟ้าแรงดันต่ำ CV-AWA-TH
สายไฟฟ้าแรงดันปานกลาง CVV-TH
สายไฟฟ้าแรงดันต่ำที่มีคุณสมบัติพิเศษชนิดทนไฟ FRC-Single-core-Non-sheath

ประโยชน์ของการเลือกใช้สายไฟที่ถูกต้อง

สายไฟที่มีคุณภาพ ปัจจุบันไฟฟ้าเป็นสิ่งที่จำเป็นและอยู่รอบตัวเรา เราใช้ไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมงทุกๆวัน ไฟฟ้าจึงเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์แก่มนุษยชาติอย่างมหาศาล อย่างไรก็ตามแม้ว่าไฟฟ้าจะให้ประโยชน์มากมายเพียงใด หากใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ใช้ด้วยความประมาท ก็อาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินได้เช่นกัน การใช้ไฟฟ้าจึงต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของความปลอดภัยเป็นอันดับแรก

สายไฟฟ้าทำหน้าที่เป็นทั้งตัวนำพลังงานไฟฟ้ามาให้เราใช้งานและขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ปกป้องเราจากอันตรายของไฟฟ้าด้วย สายไฟฟ้าที่ไม่ได้คุณภาพมักจะผลิตจากวัตถุดิบคุณภาพต่ำ หรือคุณลักษณะไม่ผ่านตามมาตรฐาน เช่น ขนาดตัวนำทองแดงหรือความหนาฉนวนต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งส่งผลให้สายไฟฟ้าไม่สามารถทนแรงดันไฟฟ้าหรือจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ตามที่มาตรฐานกำหนด เมื่อนำมาใช้งานก็อาจเกิดความร้อนสูงหรือเกิดลัดวงจร เป็นอันตรายร้ายแรงขึ้นได้ ดังนั้นการเลือกใช้สายไฟฟ้าจึงไม่ควรพิจารณาเพียงราคาถูกที่สุดหรือใช้สายอะไรก็ได้ แต่จำเป็นต้องเลือกใช้สายไฟที่มีความน่าเชื่อถือ และมีคุณภาพมาตรฐานระดับสากล เพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของคุณจากอันตรายที่อาจเกิดจากการใช้ไฟฟ้าในแต่ละวัน

ตารางตัวอย่างการเลือกใช้งานของสายไฟแต่ละเส้น

ตารางตัวอย่างการเลือกใช้งานของสายไฟแต่ละเส้น

ขอบคุณข้อมูลจาก Phelps Dodge (pdcable.com)

การก่อสร้าง ความหมาย ประเภท และการแบ่งงานก่อสร้าง

การก่อสร้าง หมายถึง กระบวนการอย่างหนึ่ง ซึ่งจัดขึ้นเพื่อประกอบโครงสร้างพื้นฐานจนก่อขึ้นมาเป็นตัวอาคาร บ้านเรือนหรือระบบสาธารณูปโภค ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการใช้งานของมนุษย์ สำหรับวิชาการก่อสร้างในระดับมหาวิทยาลัยนั้นจะไม่ได้สอนเพียงวิธีสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาเฉพาะแค่แรงงานเท่านั้น ทว่ายังสอนให้ได้เรียนรู้ถึงการจัดหาทรัพยากร การบริหารในส่วนของงบประมาณและด้านความปลอดภัยตามมา

ประเภทของงานก่อสร้าง แบ่งได้ทั่วไป 4 ประเภท

  1. ประเภทที่อยู่อาศัย
  2. ประเภทที่ใช้ในด้านอุตสาหกรรม
  3. ประเภทที่ใช้ในเชิงพาณิชย์
  4. ประเภทงานโยธาเพื่อใช้ในส่วนสาธารณูปโภค

เนื่องจากที่อยู่อาศัยกลายเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญสำหรับการดำรงชีพของมนุษย์ ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีจึงมีนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้พัฒนาในส่วนของงานก่อสร้างมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การก่อสร้างแต่ละโครงการ ผู้รับเหมาก่อสร้างย่อมต้องมีองค์ความรู้ต่างๆ หลายด้าน และองค์ความรู้ที่นับว่าจำเป็นได้แก่ เทคโนโลยีของการก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับวิธีและขั้นตอนของการก่อสร้าง เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่จะช่วยปรับเปลี่ยนสิ่งที่สถาปนิกหรือวิศวกรเขียนแบบและรายการก่อสร้าง จนกลายมาเป็นสิ่งปลูกสร้างขึ้นอย่างสมบูรณ์แบบต่อไป ดังนั้น นับว่าจำเป็นอย่างมากที่ทางผู้รับเหมาก่อสร้างจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับด้านเทคโนโลยีในการก่อสร้างต่างๆ อย่างครบวงจร

แหล่งที่มาและโครงสร้างอุตสาหกรรมก่อสร้าง

แหล่งที่มาของงานก่อสร้าง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แหล่ง คือ

  1. งานจากภาคเอกชน
  2. งานจากภาครัฐวิสาหะกิจ
  3. งานจากภาคราชการ

สำหรับงานในส่วนของภาคเอกชน จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนย่อย ซึ่งได้แก่ งานที่มีความเกี่ยวข้องกับด้านธุรกิจและไม่มีความเกี่ยวข้องกับด้านธุรกิจ

งานด้านธุรกิจ

งานที่เกี่ยวข้องกับด้านธุรกิจนั้นจะเกี่ยวข้องถึงการลงทุน โดยจะมีการวิเคราะห์ถึงผลกำไรขาดทุน ซึ่งงานก่อสร้างบางอย่างมักมีความจำเป็นที่ต้องข้องเกี่ยวกับด้านธุรกิจ เช่น การก่อสร้างโรงงานหรืออาคารสำนักงานเพื่อใช้เป็นที่ดำเนินธุรกิจ ขณะเดียวกัน งานก่อสร้างบางอย่างที่เกี่ยวกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจะเป็นการก่อสร้างเพื่อขายหรือเพื่อเอาไว้บริการ อย่างเช่น โรงงาน โรงแรม รีสอร์ท คอนโดมิเนียม อพาร์ทเมนท์และบ้านจัดสรร ฯลฯ สำหรับงานในส่วนที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจก็ได้แก่ งานก่อสร้างที่อยู่อาศัย

งานด้านรัฐวิสาหกิจ

งานในส่วนของรัฐวิสาหกิจ จะมีการดำเนินงานที่คล้ายกันกับงานของธุรกิจเอกชน แต่การลงทุนส่วนหนึ่งจะมาจากรัฐบาลร่วมด้วย ส่วนที่เหลือจะมาจากรายได้ที่ได้จากการขายบริการต่างๆ สำหรับงานก่อสร้างของภาครัฐวิสาหกิจมักจะเป็นการก่อสร้างโครงการที่มีความข้องเกี่ยวกับการทำงานของหน่วยงานนั้นๆ โดยตรง อย่างเช่น งานก่อสร้างทางพิเศษ ได้แก่ การก่อสร้างทางด่วน จะมีรายได้มาจากการเก็บค่าผ่านทาง การท่าเรือ ได้แก่ การก่อสร้างท่าเทียบเรือ ซึ่งจะมีรายได้มาจากการเก็บค่าธรรมเนียมหรือการเก็บค่าเช่าคลังเก็บสินค้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ได้แก่ การก่อสร้างเกี่ยวกับโรงงานผลิตไฟฟ้าและระบบการจ่ายไฟฟ้า ซึ่งมีรายได้จากการขายไฟฟ้า การประปา ได้แก่ การก่อสร้างโรงกรองน้ำ หรือการวางท่อเมนประปา โดยจะมีรายได้จากการขายน้ำประปา

งานด้านราชการ

สำหรับงานก่อสร้างในส่วนทางราชการ มักจะเป็นการก่อสร้างที่มีความเกี่ยวข้องกับด้านสาธารณูปโภค ไม่ใช่การแสวงหากำไร โดยมีตัวอย่างงานของทางหน่วยราชการ เช่น กรมทางหลวง เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน สะพาน กรมชลประทานมีหน้าที่ทำการก่อสร้างเกี่ยวกับเขื่อน คลองส่งน้ำและโครงสร้างต่างๆ ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกันกับการชลประทานทั้งหมด และทางด้านกรมโยธาธิการจะทำการก่อสร้างถนน สะพาน ระบบระบายน้ำทิ้งในเขตพื้นที่เมือง ฯ โดยการก่อสร้างดังกล่าวนี้จะมีค่าใช้จ่ายทั้งหมดมาจากงบประมาณแผ่นดิน

ชนิดของงานก่อสร้าง

โดยทั่วไป งานก่อสร้างมักหมายถึง งานด้านวิศวกรรมโยธา ซึ่งมีหน้าที่ทำงานครอบคลุมเกี่ยวกับงานด้านก่อสร้างทั้งหมด ตั้งแต่งานก่อสร้างระดับขนาดเล็กๆ ไปจนกระทั่งถึงงานก่อสร้างระดับที่มีขนาดใหญ่ โดยงานก่อสร้างนั้นจะสามารถแบ่งออกไปตามประเภทงานได้ดังนี้

1. งานอาคาร เป็นงานก่อสร้างที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ ได้แก่ พื้น คาน ฐานราก เสา ประตู หน้าต่าง กำแพงและหลังคา โดยยังรวมไปถึงงานในด้านระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบปรับอากาศ ระบบสุขาภิบาล ระบบตกแต่งภายใน ลิฟต์และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้งานในอาคาร ยกตัวอย่างงานอาคาร เช่น งานก่อสร้างบ้านหรือที่พักอาศัย ห้างสรรพสินค้า โรงงาน โรงแรม คอนโดมิเนียม ฯ สำหรับงานอาคารจะสามารถแบ่งเป็นประเภทย่อยๆ ออกได้ดังนี้

  • อาคารสูง เป็นอาคารที่มีระดับความสูงโดยจำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์พิเศษเพื่อการก่อสร้าง เช่น ลิฟต์ ปั้นจั่น และนั่งร้านสำหรับแบบหล่อคอนกรีต เป็นต้น
  • อาคารสำเร็จรูป เป็นอาคารที่จะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนต่างๆ โดยอาจจะทำมาจากคอนกรีตหรือเหล็ก แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะทำจากโรงงาน การประกอบอาคารก็มักจะนิยมใช้เครื่องจักรที่มีขนาดใหญ่ในการช่วยยกติดตั้ง
  • บ้านพักอาศัย เป็นอาคารที่มีขนาดเล็กและเบา เพราะโดยทั่วไปมักจะมีระดับความสูง 1-2 ชั้น
  • อาคารที่พักชั่วคราว อันได้แก่ ที่พักคนงานหรือสถานที่ทำการในระยะชั่วคราวเพื่อใช้สำหรับการบริหารโครงการ

2. งานวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering work) ได้แก่ งานด้านถนน ทางหลวง สะพาน งานวางท่อประปา งานอาคารใต้ดิน งานเขื่อน งานก่อสร้างท่าเทียบเรือ ฯ โดยงานโยธา เป็นงานที่จะต้องใช้เครื่องจักรหนักๆ เป็นอุปกรณ์หลักในการทำงาน เพราะมีปริมาณของงานมาก ขอบเขตหรือพื้นที่ในการปฏิบัติงานยังค่อนข้างกว้าง ลึกหรือทั้งกว้างและลึก ลักษณะของแรงงานที่ใช้ก็จะใช้พลังงานในรูปของแรงอัด แรงสั่นสะเทือน แรงดัน แรงกระแทก แรงเหวี่ยง ฯ

3. โรงงานอุตสาหะกรรมและงานโรงไฟฟ้า (Process and Power Plant) เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต อย่างเช่น โรงงานปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน โรงงานปูนซีเมนต์ โรงงานโม่หิน ฯ โดยค่าก่อสร้างจะได้มาจากค่าสร้างระบบเสียส่วนใหญ่

4. งานก่อสร้างประเภทอื่นๆ นอกจากงานทั้ง 3 ประเภทแรกแล้วนั้น ยังมีงานในประเภทอื่นๆ เช่น งานรื้อถอน งานก่อสร้างแท่นเจาะสูบก๊าซธรรมชาติ และงานน้ำมันดิบในทะเล

นอกเหนือจากนี้ งานโครงการก่อสร้างหนึ่งๆ อาจจะประกอบไปด้วยงานก่อสร้างหลากหลายอย่าง เช่น โครงการก่อสร้างเขื่อนซึ่งนอกจากจะทำการสร้างเขื่อนแล้ว ยังสร้างอาคารที่ทำการ อาคารซ่อมบำรุงฯ และโครงการสำหรับก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมัน เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลจากhttps://www.chi.co.th/article/article-1201/

การสร้างทางรถไฟ

การสร้างทางรถไฟ

ทางรถไฟหมายถึง ทางที่มีรางเหล็ก ๒ เส้น วางขนานต่อๆ กันบนไม้หมอน ซึ่งวางตั้งฉากกับรางไม้หมอน วางอยู่บนชั้นของหินก้อน ซึ่งมีขนาดประมาณ ๓ – ๖ ซม. โดยมีคันดินเป็นฐานรองรับ โดยทั่วๆ ไป ทางรถไฟมักจะสร้างผ่านไปตามที่ราบ เช่น ทุ่งนา ป่า หรือในพื้นที่ที่เป็นภูเขามีภูมิประเทศสูงๆ ต่ำๆ ติดต่อกันตั้งแต่ต้นทางไปจนสุดปลายทาง ทางที่ต่ำก็มีการถมให้สูงขึ้น ส่วนทางที่สูง ก็อาจตัดดินเป็นช่อง หรือเจาะเป็นอุโมงค์ หรือถ้ำ เพื่อมิให้มีส่วนที่ลาดชันสูงเกินไป ซึ่งจะเป็นอุปสรรค ทำให้รถจักรไม่สามารถลากจูงขบวนรถยาวๆ ขึ้นได้ เพราะความฝืดระหว่างล้อรถจักรกับรางมีน้อย ถ้าทางผ่านหุบ เขา แม่น้ำ ลำคลอง ก็ทำเป็นสะพานข้ามไป สำหรับจุดมุ่งหมายในการสร้างทางรถไฟนั้น ต้องมีการพิจารณาถึงประโยชน์และความสำคัญ ในด้านการคมนาคม การขนส่ง การเศรษฐกิจ การปกครอง และการยุทธศาสตร์ งานที่นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างทางรถไฟ คือ งานสำรวจหาข้อมูลต่างๆ เช่น การสำรวจหาแนวทาง การวางแนว และการสำรวจทาง เศรษฐกิจ ทั้งนี้ เพื่อจะให้ได้รับผลประโยชน์จากทางรถไฟ ที่จะสร้างขึ้นอย่างเต็มที่ ใน สมัยก่อนงานสำรวจเป็นงานที่ลำบากมาก เพราะอุปกรณ์ที่จะให้ความสะดวกในการสำรวจ เช่น แผนที่ สถิติต่างๆ เครื่องมือ เครื่องใช้ การคมนาคม ยานพาหนะ และยารักษาโรค ยังไม่ดีเหมือนในสมัยปัจจุบัน ซึ่งระบบการสำรวจได้วิวัฒนาการจากเดิมไปมาก นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีการสำรวจโดยทางอากาศได้อีกทางหนึ่ง ทำให้ผู้สำรวจทำงานได้รวดเร็วและสะดวกขึ้นมาก

การก่อสร้างทางรถไฟสมัยแรกยังไม่มีเครื่องมือกลทุ่นแรง งานส่วนใหญ่จึงทำ โดยใช้แรงคน ส่วนในปัจจุบันมีการใช้เครื่องทุ่นแรง และเทคนิคใหม่ๆ ที่ทันสมัย เช่น ดินที่จะนำมาเป็นคันถนนรถไฟ ก็มีการเลือกเอาแต่ดินที่เหมาะสม ต้องมีการบดอัดให้แน่น เพื่อกันมิให้มีการยุบตัวได้ ความลาดชันของทางก็ต้องจำกัด ไม่ให้มีมากนัก ทางโค้งก็ทำให้เป็นโค้งกว้างมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่ออำนวยให้ขบวนรถสามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงได้ตลอดทาง นอกจากนี้ยังมีการแก้ไข โดยการเชื่อมรางให้ติดต่อกันเป็นท่อนยาวๆ รางเชื่อมนี้จะทำให้มีความยาวเท่าใดก็ได้ ซึ่งสมัยก่อนต้องมีการเว้นระยะหัวต่อรางทุกๆ ท่อนไว้เสมอ เพื่อให้รางสามารถขยายตัวได้เมื่ออากาศร้อน แต่ในปัจจุบันได้แก้ปัญหาเรื่องการ ยืดตัว หรือหดตัวของราง โดยการยึดรางให้ติดแน่นกับหมอนด้วยอุปกรณ์ชนิดหนึ่งเรียกว่า สมอ (anchor) หรือ คลิป (clip) อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวรางแบบสปริง ในกรณีเช่นนี้ ไม่ว่าอากาศจะร้อนหรือเย็น รางก็จะถูกบังคับให้มีความยาวคงที่ เพราะรางถูกยึดไว้แน่นแล้ว หมอนรองรางซึ่งแต่เดิมเป็นหมอนไม้ ก็เปลี่ยนเป็นหมอนคอนกรีต การวางรางบนหมอนคอนกรีตจะมีแผ่นยางกันกระเทือนสอดรองรับไว้ ซึ่งจะช่วยลดความดังของเสียง และลดความกระเทือนลงไปได้มาก นอกจากนั้น รางเชื่อมยังช่วยให้รถสามารถวิ่งได้เรียบและเร็วขึ้นอีกด้วย

ปกติทางรถไฟจะมีทางๆ เดียว ใช้สำหรับขบวนรถวิ่งทั้งไปและมา ทางนี้เรียกว่า ทางประธาน (main line) ขบวนรถที่วิ่งขึ้นและล่องนี้ย่อมต้องสวนกันหรือหลีกกันเป็น ครั้งคราว จึงจำเป็นต้องจัดที่ไว้สำหรับขบวนรถหลีกเป็นระยะๆ เรียกว่า ทางหลีก (siding) ซึ่งปกติมักสร้างไว้ในเขตสถานี โดยมอบให้นายสถานีเป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบ จุดที่ทางหลีก และทางประธานมาบรรจบกันนั้น มีแบบลักษณะของรางพิเศษเรียกว่า ประแจ (switch and crossing) ใส่ไว้ สำหรับบังคับให้รถผ่านเข้าทางประธาน หรือเข้าทางหลีกได้ตามความต้องการ บริเวณสถานีซึ่งประกอบด้วยทางประธาน และทางหลีกทั้งหมดรวมกัน เรียกว่า ย่านสถานี (station yard) ย่านสถานีที่ใหญ่มากๆ จึงมักเป็นที่รวมรถ และในวันหนึ่งๆ มีการสับเปลี่ยนรถ เพื่อจัดขบวนเป็นจำนวนมาก เช่น ย่านพหลโยธินที่บางซื่อ เป็นต้น เราเรียกย่านใหญ่นี้ว่า ย่านสับเปลี่ยน (marshalling yard) ตามย่านสถานี โดยทั่วไปจะมีประแจรูปร่างแปลกๆ วางไว้เป็นจำนวนมาก วัตถุประสงค์ของประแจเหล่านี้ ก็เพื่อให้รถสามารถวิ่งผ่านไปตามทางหลีกต่างๆ ตามต้องการด้วยการบังคับกลไก ของประแจให้ขยับไปในท่าต่างๆ โดยใช้อุปกรณ์พิเศษ การบังคับจะรวมอยู่ที่ศูนย์อาคาร กลางย่านสถานี เรียกว่า หอสัญญาณ เจ้าหน้าที่ผู้บังคับประแจเรียกว่า พนักงานสัญญาณ

ทางบางตอนที่มีขบวนรถเดินหนาแน่นมาก ถ้าหากจะให้มีทางประธานทางเดียว จะทำให้ขบวนรถเสียเวลาคอยหลีกมาก จึงแก้ปัญหาโดยการเพิ่มทางประธานให้มากขึ้น คือ ให้เป็นทางสำหรับรถเดินขึ้นทางหนึ่ง เรียกว่า ทางขึ้น (up line) สำหรับรถเดินล่องทางหนึ่ง เรียกว่า ทางล่อง (down line) สถานีบางแห่งมีทางประธานแยกออกจากกันไปคนละทาง เช่น ที่สถานีชุมทางบ้านภาชี มีทางหนึ่งแยกไปเชียงใหม่ ส่วนอีกทางหนึ่งแยกไปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถานีที่มีทางแยกดังนี้ เรียกว่า สถานีชุมทาง (junction) ทางที่แยกออกไป ถ้าเป็นทางสายย่อยมีความสำคัญน้อย เช่น สายสวรรคโลก หรือสาย กาญจนบุรี ก็เรียกทางนั้นว่า ทางแยก (branch line)

ทางรถไฟมีทั้งทางตรงและทางโค้ง ซึ่งเป็นไปตามลักษณะของภูมิประเทศ ดังนั้น จึงมีกำหนดเรียกลักษณะแนวทางต่างๆ เช่น ทางโค้ง (curve) ก็เรียกตามรัศมีความโค้ง (radius of curve) ของทาง เช่น ๑,๐๐๐-๒,๐๐๐ เมตร ทางที่โค้งแคบที่สุดที่ใช้อยู่ใน ขณะนี้มีรัศมีเพียง ๑๕๖ เมตร

สำหรับทางลาดชัน (gradient หรือ grade) นั้นเราเรียกเปรียบเทียบระหว่างระยะ ตามแนวตั้งกับระยะตามแนวนอน ๑,๐๐๐ มม. (๑ เมตร) เช่น ลาดชันมีระยะแนวตั้งวัด ได้ ๕ มม. ต่อระยะใน แนวนอน ๑,๐๐๐ มม. เราเรียกลาดชันนี้ว่า ๕%. หรือ ๕ เปอร์มิล ถ้าตัวเลขลาดชันมากขึ้นเท่าใด ความชันก็ยิ่งมีมากเท่านั้น การรถไฟไทยมีลาดชันสูงสุด ๒๖%. อยู่ที่ระหว่างสถานีแม่ตาลน้อยกับสถานีขุนตาล ในทางรถไฟสายเหนือ

ขบวนรถไฟเมื่อวิ่งเข้าทางโค้งจะมี แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (centrifugal force) เกิดขึ้น ถ้าหากไม่มีการปรับระดับรางให้เหมาะสมกับแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางแล้ว อาจจะทำให้รถตกรางได้ จึงจำเป็นต้องมีการยกระดับรางรถไฟ ที่อยู่ในทางโค้งด้านนอก ให้สูงกว่ารางด้านใน การยกระดับนี้เรียกว่า ยกโค้ง (cant) สำหรับความเร็วขบวนรถคันหนึ่ง ถ้ารัศมีโค้งยิ่งแคบเท่าใด การยกโค้งก็ต้องมีมากขึ้น และในกรณีที่โค้งมีความแคบมาก ความเร็วขบวนรถจะต้องลดลงด้วย ฉะนั้น ทางรถไฟที่ก่อสร้างในสมัยหลัง จึงพยายามสร้างให้มีรัศมีโค้งกว้างมาก และจำกัดความลาดชันให้มีแต่น้อย ขบวนรถจึงสามารถทำความเร็วได้สูง หรือรถจักรสามารถลากขบวนรถได้ยาวขึ้น ซึ่งค่าก่อสร้างจะสูงมากในระยะแรก แต่อาจจะได้ผลคุ้มค่าในระยะยาว

CR.http://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=4&chap=7&page=t4-7-infodetail04.html

อุโมงค์

อุโมงค์ คือ ทางสัญจรใต้ดิน ใต้น้ำ ที่ขุดลงไปใต้ดินหรือในภูเขา[1] โดยทั่วไปแล้วจะมีความยาวอย่างน้อยมากกว่าความกว้าง 2 เท่า และมีผนังโอบล้อมทุกด้าน โดยมีปลายเปิดในส่วนหัวและส่วนท้าย อุโมงค์อาจเป็นทางเดินเท้าหรือจักรยานลอดใต้ถนนหรือเชื่อมต่ออาคาร แต่โดยทั่วไปเป็นทางสัญจรสำหรับรถยนต์ รถไฟ หรือคลอง บางที่อาจเป็นทางระบายน้ำ ทางส่งน้ำโดยเฉพาะที่ใช้สำหรับไฟฟ้าพลังน้ำหรือท่อระบายน้ำ หรือในวัตถุประสงค์อื่น เช่นงานสาธารณูปโภคได้แก่ท่อประปา ไฟฟ้า เคเบิลสำหรับโทรคมนาคม หรือแม้กระทั่งอุโมงค์ที่ออกแบบสำหรับเป็นทางเดินสัตว์ป่าสำหรับสัตว์ในยุโรป ที่อาจเป็นอันตราย บางอุโมงค์ลับก็ใช้สำหรับเป็นทางออกสำหรับหนีภัย อุโมงค์บางแห่งไม่ได้เป็นทางสัญจรแต่เป็นป้อมปราการก็มี อย่างไรก็ตามท่อที่ใช้ในการขนส่ง (อังกฤษtransport pipeline) ไม่เรียกว่าเป็นอุโมงค์เนื่องจากบางอุโมงค์สมัยใหม่ได้ใช้เทคนิคการก่อสร้างแบบ immersed tube (ทำท่อสำเร็จเป็นช่วง ๆ บนดินแล้วนำไปจมที่ไซท์งาน) แทนที่จะใช้วิธีขุดเจาะแบบเดิม

การตรวจสอบและการออกแบบทางธรณีเทคนิค[แก้]

บทความหลัก: การตรวจสอบทางธรณีเทคนิค

โครงการอุโมงค์จะต้องเริ่มต้นด้วยการตรวจสอบที่ครอบคลุมสภาพพื้นดินโดยการจัดเก็บตัวอย่างจากการเจาะรู (อังกฤษborehole) และโดยใช้เทคนิคทางธรณีฟิสิกส์อื่น ๆ จากนั้นจะทำการเลือกเครื่องจักรและวิธีการเปิดหน้าดินและการรองรับพื้นดินซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงกับสภาพพื้นดินที่ไม่คาดฝัน ในการวางแผนเส้นทางการจัดแถวแนวนอนและแนวตั้งจะใช้ประโยชน์จากสภาพพื้นดินและน้ำที่ดีที่สุด

การศึกษาบนโต๊ะและที่ไซต์งานแบบทั่วไปอาจให้ข้อมูลไม่เพียงพอที่จะประเมินปัจจัยต่าง ๆ เช่นลักษณะการบล็อกของหิน สถานที่ตั้งที่แน่นอนของโซนรอยเลื่อน หรือเวลาตั้งตัว (อังกฤษStand-up time) ของพื้นดินที่อ่อนนุ่ม สิ่งเหล่านี้อาจสร้างความกังวลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานสร้างอุโมงค์เส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ เพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติม อุโมงค์นำร่องหรือ drift อาจใช้ดันไปข้างหน้าตัวขุดหลัก อุโมงค์นี้จะง่ายกว่าในการสนับสนุนข้อมูลถ้าสภาพที่ไม่คาดคิดถูกตรวจพบและจะสามารถควบรวมเข้ากับอุโมงค์จริง อีกทางเลือกหนึ่งคือการเจาะรูทดสอบในแนวนอนบางครั้งอาจจะเจาะนำไปข้างหน้าของเครื่องเจาะอุโมงค์

CR.https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C

ท่อมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ ท่อ มอก. สังเกตอย่างไร

ท่อมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ ท่อ มอก. สังเกตอย่างไร

ท่อมาตรฐานอุตสาหกรรมหรือท่อ มอก. คือ ท่อระบายน้ำที่ได้รับอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม(มอก.128-2549) พร้อมเครื่องหมายจดทะเบียน (โลโก้) ผู้ผลิต ขนาด ชั้นคุณภาพของท่อ และต้องระบุวันเดือนปีที่ผลิตบนตัวท่อระบายน้ำนั้นด้วยซึ่งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานในการผลิตท่อคอนกรีตเสริมเหล็กสำหรับงานระบายน้ำ และได้ปรับปรุงขึ้นใหม่ ตาม มอก. 128-2549 ซึ่งมีชั้นคุณภาพแตกต่างกัน ตั้งแต่ ชั้นที่ 1 , 2 , 3 และ 4 ซึ่งท่อระบายน้ำแต่ละชั้นสามารถรับแรงต้านทานและแรงกดสูงสุดแตกต่างกัน ดังนี้

ท่อชั้น 1 เป็นท่อระบายน้ำชั้นคุณภาพที่มี ความต้านทานแรงอัดแตกและแรงกดสูงสุด มากที่สุด

ท่อชั้น 4 เป็นท่อระบายน้ำชั้นคุณภาพที่มี ความต้านทานแรงอัดแตกและแรงกดสูงสุด ต่ำสุด

ลักษณะภายใน เมื่อผู้ใช้ทำการสุ่มตัวอย่างโดยการทุบตัวท่อคอนกรีตจะพบเหล็กเสริมตามความยาวท่อ ซึ่งจะต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 4 มม. จำนวนไม่น้อยกว่า 8 เส้นสำหรับท่อที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง600 มม. ขึ้นไป จำนวนไม่น้อยกว่า 6 เส้นสำหรับท่อที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 500 มม.และกรณีที่เป็นเหล็กเสริม 2 ชั้น แต่ละชั้นจะต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 8 เส้น และต้องมีปริมาณเหล็กเสริมตามขวางตามมาตรฐานกำหนด

CR.http://www.buathaipipe.com/articles/%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1/

การสร้างอุโมงค์…รถไฟฟ้าใต้ดิน

ในการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินนั้น ขั้นตอนที่สำคัญคือ การก่อสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน  เพื่อใช้เป็นเส้นทางเดินรถไฟฟ้าใต้ดิน ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าขั้นตอนการขุดอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินนั้นมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง  ในการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินจะใช้ทีมวิศวกรจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ขั้นตอนแรกในการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินคือทำการสำรวจหน้าดินว่าเหมาะสมในการก่อสร้างหรือไม่ จะต้องขุดลงไปลึกเท่าใด  ต้องวางแนวอุโมงค์อย่างไร ซึ่งแนวอุโมงค์เหล่านี้จะก่อสร้างขึ้นที่หลังเนื่องจากตลอดแนวอุโมงค์จะมีโครงสร้างทางโยธาต่าง ๆ เช่น สะพาน  ตึก  เสาไฟฟ้า  เป็นต้น โดยจะต้องวางแนวอุโมงค์เพื่อหลบสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ด้วย รวมทั้งท่อประปาของการประปานครหลวง  ในการก่อสร้างอุโมงค์และสถานนี้รถไฟฟ้านั้นต้องใช้เทคนิคทางด้านโยธาชั้นสูง

ขั้นตอนในการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินคือ หลังจากขุดเอาหน้าดินออกแล้วก็สร้างโครงสร้างสถานี ส่วนอุโมงค์รถไฟฟ้าจะใช้เครื่องเจาะเจาะลงไป เมื่อเจาะเสร็จก็มีเสริม Concrete  segment  ที่ทำเป็นวงกลมเข้าไป และจะเจาะต่อไปเรื่อย ๆ  ซึ่งเทคนิคในการก่อสร้างของอุโมงค์รถไฟฟ้าและสถานีรถไฟฟ้านั้นก็ใช้เทคนิคการก่อสร้างที่แตกต่างกัน เมื่อมีการเคลื่อนตัวของพื้นดินหรือแรดดันนั้เปลี่ยนแปลงไป  อุโมงค์สามารถขยับขึ้น-ลงได้ ซึ่งสามารถจะลดผลกระทบที่อาจจะเกิดจากพื้นดินอ่อนหรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของหน้าดินเพราะหน้าดินไม่ใช่สิ่งที่เป็นของแข็งอยู่ตลอดเวลา  เจ้าหน้าที่ส่วนซ่อมบำรุงจะออกสำรวจอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินแทบทุกวันดูว่าโครงสร้างของอุโมงค์มีการเคลื่อนตัวมากน้อยแค่ไหน

CR..https://www.scimath.org/article-science/item/1278-a-subway-tunnel#:~:text=%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87,%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%20%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3

การสร้างทางรถไฟ

การสร้างทางรถไฟ

ทางรถไฟหมายถึง ทางที่มีรางเหล็ก ๒ เส้น วางขนานต่อๆ กันบนไม้หมอน ซึ่งวางตั้งฉากกับรางไม้หมอน วางอยู่บนชั้นของหินก้อน ซึ่งมีขนาดประมาณ ๓ – ๖ ซม. โดยมีคันดินเป็นฐานรองรับ โดยทั่วๆ ไป ทางรถไฟมักจะสร้างผ่านไปตามที่ราบ เช่น ทุ่งนา ป่า หรือในพื้นที่ที่เป็นภูเขามีภูมิประเทศสูงๆ ต่ำๆ ติดต่อกันตั้งแต่ต้นทางไปจนสุดปลายทาง ทางที่ต่ำก็มีการถมให้สูงขึ้น ส่วนทางที่สูง ก็อาจตัดดินเป็นช่อง หรือเจาะเป็นอุโมงค์ หรือถ้ำ เพื่อมิให้มีส่วนที่ลาดชันสูงเกินไป ซึ่งจะเป็นอุปสรรค ทำให้รถจักรไม่สามารถลากจูงขบวนรถยาวๆ ขึ้นได้ เพราะความฝืดระหว่างล้อรถจักรกับรางมีน้อย ถ้าทางผ่านหุบ เขา แม่น้ำ ลำคลอง ก็ทำเป็นสะพานข้ามไป สำหรับจุดมุ่งหมายในการสร้างทางรถไฟนั้น ต้องมีการพิจารณาถึงประโยชน์และความสำคัญ ในด้านการคมนาคม การขนส่ง การเศรษฐกิจ การปกครอง และการยุทธศาสตร์ งานที่นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างทางรถไฟ คือ งานสำรวจหาข้อมูลต่างๆ เช่น การสำรวจหาแนวทาง การวางแนว และการสำรวจทาง เศรษฐกิจ ทั้งนี้ เพื่อจะให้ได้รับผลประโยชน์จากทางรถไฟ ที่จะสร้างขึ้นอย่างเต็มที่ ใน สมัยก่อนงานสำรวจเป็นงานที่ลำบากมาก เพราะอุปกรณ์ที่จะให้ความสะดวกในการสำรวจ เช่น แผนที่ สถิติต่างๆ เครื่องมือ เครื่องใช้ การคมนาคม ยานพาหนะ และยารักษาโรค ยังไม่ดีเหมือนในสมัยปัจจุบัน ซึ่งระบบการสำรวจได้วิวัฒนาการจากเดิมไปมาก นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีการสำรวจโดยทางอากาศได้อีกทางหนึ่ง ทำให้ผู้สำรวจทำงานได้รวดเร็วและสะดวกขึ้นมาก

การก่อสร้างทางรถไฟสมัยแรกยังไม่มีเครื่องมือกลทุ่นแรง งานส่วนใหญ่จึงทำ โดยใช้แรงคน ส่วนในปัจจุบันมีการใช้เครื่องทุ่นแรง และเทคนิคใหม่ๆ ที่ทันสมัย เช่น ดินที่จะนำมาเป็นคันถนนรถไฟ ก็มีการเลือกเอาแต่ดินที่เหมาะสม ต้องมีการบดอัดให้แน่น เพื่อกันมิให้มีการยุบตัวได้ ความลาดชันของทางก็ต้องจำกัด ไม่ให้มีมากนัก ทางโค้งก็ทำให้เป็นโค้งกว้างมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่ออำนวยให้ขบวนรถสามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงได้ตลอดทาง นอกจากนี้ยังมีการแก้ไข โดยการเชื่อมรางให้ติดต่อกันเป็นท่อนยาวๆ รางเชื่อมนี้จะทำให้มีความยาวเท่าใดก็ได้ ซึ่งสมัยก่อนต้องมีการเว้นระยะหัวต่อรางทุกๆ ท่อนไว้เสมอ เพื่อให้รางสามารถขยายตัวได้เมื่ออากาศร้อน แต่ในปัจจุบันได้แก้ปัญหาเรื่องการ ยืดตัว หรือหดตัวของราง โดยการยึดรางให้ติดแน่นกับหมอนด้วยอุปกรณ์ชนิดหนึ่งเรียกว่า สมอ (anchor) หรือ คลิป (clip) อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวรางแบบสปริง ในกรณีเช่นนี้ ไม่ว่าอากาศจะร้อนหรือเย็น รางก็จะถูกบังคับให้มีความยาวคงที่ เพราะรางถูกยึดไว้แน่นแล้ว หมอนรองรางซึ่งแต่เดิมเป็นหมอนไม้ ก็เปลี่ยนเป็นหมอนคอนกรีต การวางรางบนหมอนคอนกรีตจะมีแผ่นยางกันกระเทือนสอดรองรับไว้ ซึ่งจะช่วยลดความดังของเสียง และลดความกระเทือนลงไปได้มาก นอกจากนั้น รางเชื่อมยังช่วยให้รถสามารถวิ่งได้เรียบและเร็วขึ้นอีกด้วย
ปกติทางรถไฟจะมีทางๆ เดียว ใช้สำหรับขบวนรถวิ่งทั้งไปและมา ทางนี้เรียกว่า ทางประธาน (main line) ขบวนรถที่วิ่งขึ้นและล่องนี้ย่อมต้องสวนกันหรือหลีกกันเป็น ครั้งคราว จึงจำเป็นต้องจัดที่ไว้สำหรับขบวนรถหลีกเป็นระยะๆ เรียกว่า ทางหลีก (siding) ซึ่งปกติมักสร้างไว้ในเขตสถานี โดยมอบให้นายสถานีเป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบ จุดที่ทางหลีก และทางประธานมาบรรจบกันนั้น มีแบบลักษณะของรางพิเศษเรียกว่า ประแจ (switch and crossing) ใส่ไว้ สำหรับบังคับให้รถผ่านเข้าทางประธาน หรือเข้าทางหลีกได้ตามความต้องการ บริเวณสถานีซึ่งประกอบด้วยทางประธาน และทางหลีกทั้งหมดรวมกัน เรียกว่า ย่านสถานี (station yard) ย่านสถานีที่ใหญ่มากๆ จึงมักเป็นที่รวมรถ และในวันหนึ่งๆ มีการสับเปลี่ยนรถ เพื่อจัดขบวนเป็นจำนวนมาก เช่น ย่านพหลโยธินที่บางซื่อ เป็นต้น เราเรียกย่านใหญ่นี้ว่า ย่านสับเปลี่ยน (marshalling yard) ตามย่านสถานี โดยทั่วไปจะมีประแจรูปร่างแปลกๆ วางไว้เป็นจำนวนมาก วัตถุประสงค์ของประแจเหล่านี้ ก็เพื่อให้รถสามารถวิ่งผ่านไปตามทางหลีกต่างๆ ตามต้องการด้วยการบังคับกลไก ของประแจให้ขยับไปในท่าต่างๆ โดยใช้อุปกรณ์พิเศษ การบังคับจะรวมอยู่ที่ศูนย์อาคาร กลางย่านสถานี เรียกว่า หอสัญญาณ เจ้าหน้าที่ผู้บังคับประแจเรียกว่า พนักงานสัญญาณ
ทางบางตอนที่มีขบวนรถเดินหนาแน่นมาก ถ้าหากจะให้มีทางประธานทางเดียว จะทำให้ขบวนรถเสียเวลาคอยหลีกมาก จึงแก้ปัญหาโดยการเพิ่มทางประธานให้มากขึ้น คือ ให้เป็นทางสำหรับรถเดินขึ้นทางหนึ่ง เรียกว่า ทางขึ้น (up line) สำหรับรถเดินล่องทางหนึ่ง เรียกว่า ทางล่อง (down line) สถานีบางแห่งมีทางประธานแยกออกจากกันไปคนละทาง เช่น ที่สถานีชุมทางบ้านภาชี มีทางหนึ่งแยกไปเชียงใหม่ ส่วนอีกทางหนึ่งแยกไปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถานีที่มีทางแยกดังนี้ เรียกว่า สถานีชุมทาง (junction) ทางที่แยกออกไป ถ้าเป็นทางสายย่อยมีความสำคัญน้อย เช่น สายสวรรคโลก หรือสาย กาญจนบุรี ก็เรียกทางนั้นว่า ทางแยก (branch line)

สำหรับทางลาดชัน (gradient หรือ grade) นั้นเราเรียกเปรียบเทียบระหว่างระยะ ตามแนวตั้งกับระยะตามแนวนอน ๑,๐๐๐ มม. (๑ เมตร) เช่น ลาดชันมีระยะแนวตั้งวัด ได้ ๕ มม. ต่อระยะใน แนวนอน ๑,๐๐๐ มม. เราเรียกลาดชันนี้ว่า ๕%. หรือ ๕ เปอร์มิล ถ้าตัวเลขลาดชันมากขึ้นเท่าใด ความชันก็ยิ่งมีมากเท่านั้น การรถไฟไทยมีลาดชันสูงสุด ๒๖%. อยู่ที่ระหว่างสถานีแม่ตาลน้อยกับสถานีขุนตาล ในทางรถไฟสายเหนือ

ขบวนรถไฟเมื่อวิ่งเข้าทางโค้งจะมี แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (centrifugal force) เกิดขึ้น ถ้าหากไม่มีการปรับระดับรางให้เหมาะสมกับแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางแล้ว อาจจะทำให้รถตกรางได้ จึงจำเป็นต้องมีการยกระดับรางรถไฟ ที่อยู่ในทางโค้งด้านนอก ให้สูงกว่ารางด้านใน การยกระดับนี้เรียกว่า ยกโค้ง (cant) สำหรับความเร็วขบวนรถคันหนึ่ง ถ้ารัศมีโค้งยิ่งแคบเท่าใด การยกโค้งก็ต้องมีมากขึ้น และในกรณีที่โค้งมีความแคบมาก ความเร็วขบวนรถจะต้องลดลงด้วย ฉะนั้น ทางรถไฟที่ก่อสร้างในสมัยหลัง จึงพยายามสร้างให้มีรัศมีโค้งกว้างมาก และจำกัดความลาดชันให้มีแต่น้อย ขบวนรถจึงสามารถทำความเร็วได้สูง หรือรถจักรสามารถลากขบวนรถได้ยาวขึ้น ซึ่งค่าก่อสร้างจะสูงมากในระยะแรก แต่อาจจะได้ผลคุ้มค่าในระยะยาว
สำหรับการบำรุงรักษาทางนั้น เนื่องจากขบวนรถโดยสาร และขบวนรถสินค้ามีจำนวนเพิ่มขึ้น พิกัดบรรทุกมากขึ้น และวิ่งด้วยความเร็วสูงขึ้นกว่าเดิม จึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้นกว่าเดิม เช่น การนำเครื่องมือกลมาใช้ในการอัดหิน เพื่อปรับระดับ เป็นต้น

CR.https://www.trueplookpanya.com/blog/content/60494/

วิธีใช้งานเครื่องเจียร

วิธีใช้งานเครื่องเจียร

1.สวมเครื่องป้องกันตา เสียง ตลอดจนหน้ากากขณะใช้งาน

2.ปรับฝาคลอบฝุ่นและแท่งรองชิ้นงานให้ห่างจากหน้าหิน

3.ล้างหน้าหินด้วยเฟืองล้างหินเมื่อหินทู่

4.หินที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานของขอบ ห้ามใช้หน้าหินไปเจียรงานโดยเด็ดขาด

5.ขณะใช้งาน ห้ามกระแทกหินโดยเด็ดขา

6.ห้ามกดหน้าหินแรงๆ โดยเด็ดขาด

7.ห้ามเค้นหินเมื่อมอเตอร์ช้าหรือชิ้นงานร้อนเกินไป

8.ห้ามยัดชิ้นงานเข้าใส่หินเจียร

9.ห้ามเจียรชิ้นงานชนิดอื่นด้วยหินเจียรที่ไม่ได้ออกแบบมาให้

10.ให้ความสำคัญในการดูแลรักษาหินเจียรที่ยังไม่ได้ใช้งาน หรือ เมื่อใช้งานเสร็จ ควรนำลงจากเครื่องแล้วเก็บรักษาให้อยู่ในสภาพปลอดภัย

11.เมื่อเปิดเครื่อง ผู้ใช้จะต้องทดสอบหมุนหินเจียรก่อนอย่างน้อย 1 นาทีโดยผู้ใช้จะต้องยืนด้านที่หินไม่ แตกใส่

วิธีเลือกเครื่องเจียร

–          พิจารณาขนาดเครื่องเจียร ให้เหมาะสมกับงาน

–          พิจารณากำลังวัตต์และความเร็วรอบของเครื่องให้ถูกต้อง เช่น งานเจียร ความใช้ความเร็วรอบสูง

งานตัด ควรใช้ความเร็วรอบต่ำ

–          พิจารณาเครื่องให้เหมาะสมกับหน่วยงานที่ต้องการความปลอดภัยสูง

–          พิจารณาขนาดเครื่อง เพื่อสะดวกกับสรีระผู้ใช้งาน เครื่องมีทั้งเสื้อขนาดมาตรฐานและเสื้อผอม

เครื่องเจียรตั้งโต๊ะ

เครื่องเจียรตั้งโต๊ะ (Bench Grinder)

เครื่องเจียรตั้งโต๊ะ (Bench Grinder) ใช้สำหรับขัดแต่งและลบคมชิ้นงานจำพวก สิ่ว ดอกสว่าน มีดกลึง มีดไส เป็นต้น โครงสร้างตัวเรือนหล่อขนาดกะทัดรัดที่ประกอบด้วย ฐานเครื่องยึดติดกับโต๊ะงาน ล้อหินเจียรข้างหนึ่งหยาบ/ข้างหนึ่งละเอียด แป้นรองรับวัตถุ ฝาครอบ กระจกป้องกันเศษโลหะกระเด็น สวิตช์เปิด-ปิด พร้อมกับมอเตอร์กำลังแรงสูงที่มีประสิทธิภาพการทำงานที่ไม่สั่นสะเทือน สามารถปรับความเร็วรอบได้ จึงทำให้การเจียรผิวชิ้นงานเรียบได้เร็วขึ้น

https://monet.asia/category/electric-hydraulic-pneumatic-tools/small-processing-machines-heaters/bench-grinder/

ทำไมถึงเรียกเครื่องเจียรไฟฟ้าว่า “ลูกหมู”  

ทำไมถึงเรียกเครื่องเจียรไฟฟ้าว่า “ลูกหมู”

       คำว่า ” ลูกหมู ” เป็นคำเรียกเเทนหินเจียรไฟฟ้า มาหลายสิบปีเเล้ว น่าจะมาจากการใช้หินเจียร 7 นิ้ว ในสมัยก่อนที่รูปร่างตัวหินเจียรยุคนั้นเป็นตัวเรือนโลหะอลูมิเนียมสีเงินหม่นๆ มีรูปร่างคล้ายๆลูกหมู ( คงไม่ได้มาจากหินเจียร 4 นิ้ว เพราะในสมัยก่อนหินเจียร 4 นิ้ว มีราคาเเพงมาก ราคาหินเจียร 4 นิ้วราคาเเทบจะใกล้เคียงกับหินเจียร 7 นิ้ว ราคาใบเจียร 4 นิ้วก็เเพงมากเพิ่งจะมีราคาถูกลงจนเป็นที่นิยมใช้ประมาณสิบกว่าปีมานี้เอง )

เรามาทำความรู้จักเครื่องมือสารพัดประโยชน์ที่ใช้งานได้หลากหลาย ที่เรา เรียกกันว่า “ลูกหมู” กันดีกว่า ลูกหมู คือ เครื่องมือไฟฟ้าที่ใช้ในงานช่างสำหรับการเจียร หรือตัด ตัวเครื่องจะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนด้ามจับ เป็นตำแหน่งที่เอาไว้ให้มือจับเพื่อถือใช้งาน เชื่อมต่อกับสายไฟ มีสวิตช์สำหรับปิด-เปิดรวมถึงควบคุมความแรงของเครื่อง และส่วนมอเตอร์ซึ่งจะเชื่อมต่อกับใบตัดหรือใบเจียรรูปร่างกลม แบน และบาง ตัวใบหมุนรอบจัดตามกำลังวัตต์ไฟฟ้าของเครื่อง เพื่อให้มีความเร็วมากพอสำหรับการเจียรหรือตัดวัสดุก่อสร้างประเภทต่างๆ เช่น เหล็ก เหล็กชุบสังกะสี พีวีซี กระเบื้องเซรามิก หิน แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ รวมถึงยังใช้ในการตกแต่งผิววัสดุอีกด้วย

https://kinikthai.co.th/demo-post-6/