เสาและคาน

“เราเป็นมากกว่าบริษัทรับสร้างบ้านและรีโนเวท เพราะนอกจากเสนองานออกแบบและสร้างบ้านให้แก่ท่านแล้ว เรายังให้ความรู้ในการก่อสร้างด้วย เพราะความรู้ที่ถูกต้องจะช่วยให้ท่านรู้จริงและรู้ทันช่างและได้รับแต่สิ่งที่ดีนั่นเอง”

เสาและคาน

เสาที่แกะแบบออกแล้วและมีการบ่มคอนกรีต

เสาและคาน

เสาและคาน คือหัวใจที่มีความสำคัญไม่แพ้กับส่วนโครงสร้างอื่นๆในตัวบ้าน เนื่องจากเป็นตัวถ่ายเทน้ำหนักจากชั้นต่างๆลงสู่ฐานรากเพื่อให้อาคารนั้นแข็งแรงมั่นคง

เสาและคาน
เสาและคานกับการกระจายน้ำหนัก

ว่าด้วยเรื่องของเสาและคานบ้าน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของงานโครงสร้างที่สามารถเห็นได้ง่ายกว่าส่วนโครงสร้างอื่นๆ จึงเป็นที่รู้จักได้จากผู้คนทั่วไป แต่น้อยคนนักที่จะเข้าใจอย่างถูกต้องในขั้นตอนการก่อสร้างอย่างถูกต้องและหน้าที่การทำงานหลักของคานและเสา คานและเสานั้นจะทำงานควบคู่กันเสมอคือมีคานไว้รับน้ำหนักพื้นอาคารและถ่ายลงสู่เสาเพื่อกระจายลงสู่ฐานรากต่อไป นี่คือหน้าที่หลัก แต่กระบวกการรับน้ำหนักจริงๆแล้วนั้นมีการกระจายแรงที่มากกว่านั้น เราจะขอแบ่งเสาและคานออกจากกันก่อน

เสาและคาน
เสาและคาน ในงานโครงสร้าง

คาน เราเริ่มตั้งแต่ คานดอดิน ในบทความที่แล้ว คานมีหน้าที่หลักในการรับน้ำหนักจากพื้นของอาคาร โดยการวางพื้นลงบนคานนั้นแบ่งออกเป็น2ประเภท คือ

แผ่นพื้นสำเร็จ เป็นการนำแผ่นพื้นสำเร็จที่มีหลายขนาดความยาว เป็นแผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรงชนิดท้องเรียบ รูปหน้าตัดกว้าง 35ซม. หนา 5ซม. เหล็กภายในหนา4mm. เป็นคอนกรีตแข็งที่มีหน้าตัดเดียวคือ35cm. หาซื้อได้ตามร้านวัสดุก่อสร้าง การก่อสร้างจะนำแผ่นพื้นมาวางเรียงต่อกันบนคานและนำเหล็กที่อยู่ด้านปลายของแผ่นพื้นสำเร็จผูกและฝากไว้กับคานจากนั้นจึงเทพื้นหนา5-10cm.ก่อนปูกระเบื้องเป็นอันจบขั้นตอนของงานพื้น ส่วนการกระจายน้ำหนักนั้นจะกระจายออกทางด้านหัวและท้ายของแผ่นเสมอ

เสาและคาน
แผ่นพื้นสำเร็จ
เสาและคาน
การวางแผ่นพื้นสำเร็จ
เสาและคาน
แบบพื้นสำเร็จก่อนการเทพื้น

ทำแบบเทพื้น จะทำค้ำยันไม้พร้อมนำไม้อัดมารองเสมอขอบคานบนตามภาพด้านล่างเพื่อรับหน้ำหนักของปูนที่จะเท จากนั้น ผูกเหล็ก พื้นและเทคอนกรีตหนา10-15cm. เป็นอันเสร็จขั้นตอนก่อนการปูกระเบื้อง

เสาและคาน
แบบเทพื้นค้ำยันและไม้อัดฟิลม์ดำ
เสาและคาน
ค้ำยันหรือที่ภาษาช่างเรียกว่าตุ๊กตา ใช้สำหรับรับน้ำหนักคอนกรีตด้านบนก่อนเท
เสาและคาน
การผูกเหล็กกับแบบไม้ก่อนการเทคอนกรีต
เสาและคาน
การเทคอนกรีตพื้น และควรผสมน้ำยากันซึมด้วย

ซึ่งข้อแตกต่างจากการเลือกใช้ทั้ง 2วิธีนี้ อยู่ที่การทำแบบเทพื้นจะมีการผูกเหล็กเข้ากับคานและเทพื้นโครงสร้างไปเลยทีเดียวทำให้พื้นนั้นหลอมรวมเป็นชิ้นเดียวจึงทำให้ได้ความแข็งแรงมากกว่า แต่จะราคาสูงกว่าเนื่องจากเสียเวลาทำค้ำยันและค่าแรงงานในการทำ ทำให้วิธีนี้เหมาะกับงานที่มีมูลค่าสูง เช่น อาคารขนาดใหญ่ ส่วนงานบ้านพักอาศัย จะนิยมวิธีแรกมากกว่าเนื่องจากมีราคาต้นทุนที่ต่ำกว่า

จะเห็นว่าทั้ง2วิธีนั้นมีการกระจายน้ำหนักลงสู่คานโดยตรง คานจึงต้องมีความใหญ่และขนาดตามที่วิศวกรคำนวณเท่านั้น ซึ่งคานนั้นมีการวางในแนวตั้ง กล่าวคือ คานจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเมื่อมองในรูปตัด โดยความสูงจะมีมากกว่าความกว้าง นั่นก็เพื่อการรับน้ำหนักที่ดีกว่า การวางในลักษณะนี้มีการนำไปใช้งานอย่างแพร่หลายในงานก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นโครงเหล็ก เหล็กคาน และอื่นๆที่ต้องรับน้ำหนัก จะมีการวางแนวตั้งเหมือนกันหมดเพื่อการรับน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเอง

เสา เสามีมากมายหลากหลายขนาด ทั้งแบบสี่เหลี่ยมจตุรัสหรือผืนผ้า ตามแต่การคำนวณโดยวิศวกร เสามีหน้าที่หลักในการรับน้ำหนักจากคานลงสู่ ตอม่อหรือฐานราก โดยตรง เสาอาคารหรือบ้านนั้นต้องมีเหล็กเสริมความแข็งแรงด้านใน ซึ่งถ้าเป็นอาคารบ้านเรือนจะเป็นเหล็กDB16mm.-DB18mm. เนื่องจากมีความฝืดและยึดเกาะกับคอนกรีตได้ดีกว่าเหล็กRBหรือเหล็กกลม โดยมีเหล็กปลอกรัดรอบเสา ส่วนใหญ่ใช้เหล็กปลอกRB9mm.@15cm. เมื่อได้เสาเหล็กที่ผูกไว้แล้วจึงนำแบบไม้หรือแบบเหล็กตามขนาดที่เตรียมไว้มาประกอบพร้อมกับเทคอนกรีตโครงสร้างที่มีหินเป็นส่วนผสมพร้อมผสมน้ำยากันซึม เมื่อผ่านไป24ชั่วโมงจึงแกะแบบออกพร้อมรัดปิดด้วยพลาสติกเพื่อบ่มคอนกรีต ป้องกันคอนกรีตแห้งตัวเร็วเกินไปส่งผลให้เกิดการร้าวได้

เสาและคาน
เหล็กDB18 เหล็กปลอกRB9@15
เสาและคาน
แบบไม้ที่ใช้หล่อเสา
เสาและคาน
แบบเหล็กที่ใช้เป็นแบบหล่อเสา
เสาและคาน
เสาที่แกะแบบออกแล้วและมีการบ่มคอนกรีต

จะเห็นว่าเสาและคานมีความสำคัญไม่แพ้โครงสร้างส่วนอื่นๆของตัวบ้าน แม้แต่ขั้นตอนเล็กๆน้อยๆก็ควรใส่ใจ

Trick :

1 การผสมคอนกรีตเพื่อเทลงเสาหรือคานนั้น จำเป็นอย่างมากที่ต้องผสมน้ำยากันซึมลงในคอนกรีตเพื่อป้องกันปัญหาการใช้งานไปนานๆหลายปีแล้วคอนกรีตแตกร้าวส่งผลให้น้ำฝนเข้าไปทำให้เหล็กเกิดสนิมจนเสาปริแตกหรือระเบิดได้ จนต้องตามแก้ไขกันภายหลัง

เสาและคาน
เสาที่ปริแตก ผลจากการไม่ผสมน้ำยากันซึม และการผสมปูนไม่ถูกอัตราส่วนและประเภทที่ใช้

2 เสาหรือพื้นนั้นเมื่อเทเสร็จหรือแกะแบบออกแล้ว เพื่อป้องกันการแข็งตัวเร็วเกินไปจนปริหรือแตกร้าว ควรมีการบ่มคอนกรีตด้วยการทำให้ชื้นอยู่ตลอดเวลาเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า36ชั่วโมง เพื่อให้ผิวนอกสุดเมื่อโดนอากาศแล้วไม่แข็งเร็วจนเกินไป วิธีที่นิยมสำหรับพื้นคือการนำกระสอบมาคลุมปิดทับพร้อมรดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา ส่วนเสานั้นนิยมนำพลาสติกมาคลุมปิดทับไว้พร้อมรดน้ำให้เป็นไอความชื้นอยู่ภายในพลาสติกกับคอนกรีต วิธีเหล่านี้เป็นกลเม็ดเล็กๆที่ไม่ควรมองข้าม เพื่องานที่ดีที่สุดจะอยู่คู่กับท่านได้ตลอดไป

เสาและคาน
เสาที่มีการพันพลาสติกโดยรอบเพื่อบ่มคอนกรีต
เสาและคาน
การบ่มคอนกรีตเสา ควรให้ชื้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่า36ชั่วโมง
เสาและคาน
การบ่มคอนกรีตพื้น ควรให้ชื้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่า36ชั่วโมง

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.wee-interior.com/2019/06/25/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%99/